เวสสุวรรณมหาเทพผู้มั่งคั่งผู้พิทักษ์พุทธศาสนา
คำสำคัญ:
ท้าวเวสสุวรรณ, ท้าวกุเวร, ยักษ์บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของท้าวเวสสุวรรณ บทบาทหน้าที่ของท้าวเวสสุวรรณที่มีในพระพุทธศาสนา ความเชื่อเกี่ยวกับท้าวเสสุวรรณในสังคมไทย และอิทธิพลของท้าวเวสสุวรรณที่มีในสังคมไทย ผลการศึกษาพบว่า ท้าวเวสสุวรรณจัดเป็นมหาเทพที่มีเรื่องราวปรากฏในพระไตรปิฎกและอรรถกถาเป็นจำนวนมาก บทบาทหน้าที่และความสำคัญของท้าวเวสสุวรรณในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาพบว่า ท้าวเวสสุวรรณคือองค์เดียวกับท้าวกุเวรและท้าวไพรศรพณ์ มีบทบาทหน้าที่และความสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ (1) บทบาทในการเป็นผู้คุ้มครองดูแลศาสนา (2) บทบาทในการเป็นจตุโลกบาล และ (3) บทบาทในการเป็นผู้สั่งสอนและช่วยเหลือคนทำความดี ซึ่งทั้งสามบทบาทของท้าวเวสสุวรรณมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คติการนับถือท้าวเวสสุวรรณมีปรากฏในสังคมและวัฒนธรรมไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนราชอาณาจักรไทยจนถึงปัจจุบัน โดยพบหลักฐานที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปท้าวเวสสุวรรณทำด้วยดินเผาหรือหินสลักในดินแดนวัฒนธรรมทวารวดีทั้งในภาคกลาง และภาคอีสานและบริเวณวัฒนธรรมศรีวิชัยในภาคใต้ รูปแบบของท้าวเวสสุวรรณที่พบนี้เป็นแบบท่านั่ง โดยในภาคอีสานแสดงถึงบทบาทของท้าวเวสสุวรรณในฐานะเทพผู้รักษาทิศ ส่วนในภาคกลางและภาคใต้แสดงถึงบทบาทของท้าวเวสสุวรรณในฐานะเทพแห่งความมั่งคั่ง รูปแบบของรูปเคารพและการปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกิดจากคติการนับถือท้าวเวสสุวรรณ สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของท้าวเวสสุวรรณที่มีต่อวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมและวัฒนธรรมไทยในช่วงเวลานั้นๆ
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหา มกุฏราชวิทยาลัย.
กรมศิลปากร. (2543). มรดกไทย มรดกโลก. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติกรมศิลปากร.
กรมศิลปากร. (2555). ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด.
กรุณา กุศลาสัย และ เรืองอุไร กุศลาสัย. (2555). มหาภารตะยุทธ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.
ณัชพล ศิริสวัสดิ์. (2555). “โลกบาลในวรรณคดีพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรมานุชิตชิโนรส, กรมพระ. (2552). สมุดภาพปฐมสมโพธิกถา วรรณคดีพระพุทธศาสนาพากษ์ไทยคัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา.
ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (2529). เทวนุกรมในวรรณคดี. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ผาสุข อินทราวุธ. (2543). พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพมหานคร: อักษรสมัย.
พระมหาประภาส แก้วสวรรค์. (2540). “ยักษ์ในพระไตรปิฎก”. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีศักรวัลลิโภดม. (2525). โบราณคดีในทศวรรษที่ผ่านมา. พระนคร: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2543). ลาวในเมืองไทย. เมืองศรีมโหสถ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิฆเณศ พริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์ จำกัด.