Home ThaiJo
การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด- The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
- The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
- Where available, URLs for the references have been provided.
- The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
- The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
คำแนะนำผู้แต่ง
คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ
1.สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับบทความ
บัณฑิตศึกษา ห้อง 434 ชั้น 3 อาคารพระพรหมบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์305 หมู่ 8 ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
โทรศัพท์ 09-4514-1161, 08-3374-8741,086-4654195,08-1725-8693 E-mail: Vanamdr@hotmail.com
2.ประเภท การส่ง การตรวจสอบ การเตรียมและการพิจารณาคัดเลือกบทความ
วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ มีการกำหนดประเภท การส่ง การตรวจสอบ การเตรียม และการพิจารณาคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสารดังนี้
2.1 ประเภทบทความ
วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ ตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้
2.1.1บทความวิจัย (Research Article)ได้แก่ บทความที่เขียนขึ้นเป็นผลงานที่ได้จากการทำวิจัย ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อนรูปแบบบทความวิจัยโดยทั่วไปมักประกอบด้วย ชื่อบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หน่วยงานต้นสังกัดบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลของการวิจัย อภิปรายผล สรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง
2.1.2บทความทางวิชาการ (Academic Article)ได้แก่ บทความที่เสนอเนื้อหาความรู้ ลักษณะวิเคราะห์ วิจารณ์ โดยใช้แนวคิด ทฤษฎี หรือนำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้สนใจทั่วไป ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อนรูปแบบบทความวิชาการโดยทั่วไปมักประกอบด้วย ชื่อบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษหน่วยงานต้นสังกัดบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ เนื้อหา สรุป และเอกสารอ้างอิง
2.1.3บทความในลักษณะอื่น เช่น๑) บทความพิเศษ (Special Article)ได้แก่ บทความที่นำเสนอเนื้อหาความรู้วิชาการ อย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการหรือวิชาชีพ๒) บทความปริทรรศน์ (Review Article)ได้แก่ บทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ วารสาร จากผลงานหรือประสบการณ์ ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์เปรียบเทียบกัน๓) บทความปกิณกะ (Miscellany Article)ได้แก่ บทความทบทวนความรู้ เรื่องแปล ย่อความจากวารสารต่างประเทศ การแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ แนะนำเครื่องมือใหม่ ตำราหรือหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ หรือข่าวการประชุมทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติเป็นต้นสำหรับรูปแบบบทความในลักษณะอื่นโดยทั่วไปมักใช้เช่นเดียวกับบทความทางวิชาการ (Academic Article)
2.2 การส่งบทความ
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ของบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ต้องผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์Website:https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434และรอการตรวจสอบจากกองบรรณาธิการ
2.3 การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร
ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของ บทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน ทั้งพิสูจน์อักษรก่อนส่งบทความให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร
2.4 การเตรียมบทความ
บทความต้องเป็นตัวพิมพ์ดีด โดยใช้แบบอักษร (font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH SarabunPSK) ขนาดอักษร 16 จัดกั้นหลังตรง สำหรับบทความภาษาอังกฤษให้ใช้แบบอักษร Time ExRoman ขนาดอักษร 12และมีระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (double spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษ (A4)พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษด้านบนและด้านซ้าย ขนาด3.81 ซม.,ขอบด้านขวาและด้านล่างขนาด 2.54 ซม.พร้อมใส่หมายเลขหน้าทางมุมขวาบนทุกหน้า บทความไม่ควรยาวเกิน 15 หน้า กระดาษพิมพ์ (A4) โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง
2.5 การพิจารณาและคัดเลือกบทความ
บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) อย่างน้อย 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double - blind peer review)
- รูปแบบบทความวิจัย
รูปแบบบทความวิจัยโดยทั่วไปมักประกอบด้วย ชื่อบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หน่วยงานต้นสังกัด บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลของการวิจัย อภิปรายผลการวิจัยสรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิงซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
3.1 ชื่อบทความ (Article)ให้เขียนชื่อของบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3.2 ชื่อผู้นิพนธ์(Name and Surname of Author)ให้เขียนชื่อผู้นิพนธ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3.3 หน่วยงานต้นสังกัด(Affiliated agency)ให้เขียนว่าผู้เขียนบทความมีหน่วยงานต้นสังกัดจากที่ใด (สาขาวิชา คณะ มหาวิทยาลัย) หรือกรณีเป็นนิสิต นักศึกษา ควรมีรายละเอียด เช่น หลักสูตร สาขา มหาวิทยาลัย ปีดำเนินงานวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมไว้เป็นเชิงอรรถแสดงไว้ตอนบนทางด้านขวาของหน้ากระดาษใต้เชื่อบทความที่เป็นภาษาอังกฤษ
3.4 บทคัดย่อ (Abstract)บทคัดย่อควรมีความยาวไม่เกิน 350 คำ โดยแยกต่างหากจากเนื้อเรื่อง ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเขียนให้ได้ใจความทั้งหมด บทคัดย่อของบทความไม่ต้องอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตารางให้มีเนื้อหาเขียนไว้ในบทคัดย่อที่สำคัญเพียง 2 ส่วน คือวัตถุประสงค์และผลการวิจัย เท่านั้น
3.5 คำสำคัญ (Keyword)คือคำที่เขียนขึ้นให้ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา ปรากฏอยู่ในส่วนท้ายของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ละคำเขียนคั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (Semicolon) (,) ควรมีคำสำคัญไม่เกิน 5คำ
3.6 บทนำ(Introduction)ข้อเขียนเบื้องต้นที่นำเข้าสู่เนื้อหา เขียนให้เห็นประเด็นความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัยว่ามีภูมิหลังอย่างไร ปัญหาดังกล่าวมีผู้เสนอแนวคิด ทฤษฎี ไว้อย่างไร มีประเด็นใดที่ยังมิได้คำตอบ หากวิจัยเรื่องนี้แล้วคาดว่าจะได้คำตอบปัญหานี้อย่างไร เขียนให้ชัดเจน มีข้อมูลที่เป็นเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องสนับนุนความเห็นได้อย่างสมเหตุสมผล
3.7 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิจัยได้อย่างชัดเจนควรเขียนแยกกันให้เห็นเป็นข้อๆ
3.8 วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) เป็นการกำหนด รูปแบบการวิจัย ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง(วิจัยเชิงปริมาณ) กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ให้ข้อมูลหลัก(วิจัยเชิงคุณภาพ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล(ถ้ามี) แต่ละประเด็นมีรายละเอียดชัดเจน
3.9 ผลการวิจัย (Results)เป็นการนำเสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ในการนำเสนอผลการวิจัย อาจใช้ภาพถ่าย ตารางหรือแผนภูมิประกอบได้
3.10 อภิปรายผลการวิจัย(Discussion)เป็นการอภิปรายผลการวิจัยเข้ากับหลักแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำข้อค้นพบการวิจัยมาอภิปรายเพื่อเชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาการวิจัย หรือทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
3.11 สรุปผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลที่ได้จากการวิจัย ในข้อ 3.7 ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่ และสัมพันธ์ กับวัตถุประสงค์ ของการวิจัย โดยการบรรยายในเนื้อเรื่อง หรืออาจแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือ แผนภูมิ ตามความเหมาะสม
3.12 ข้อเสนอแนะ (Suggestion) การแนะแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ผู้นิพนธ์ควรเขียนให้ได้ทั้ง ๓ ประเด็น คือ ๑) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ๒) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และ ๓) ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
3.13 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา ตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมาย วงเล็บ ( ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลาย โดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่าง ๆ ที่ง่าย ทันสมัย ถูกต้อง การอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศที่มิใช่ภาษาอังกฤษ ผู้นิพนธ์ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษไว้ถูกต้อง เป็นรูปแบบเดียวกัน
- รูปแบบบทความวิชาการ หรือบทความในลักษณะอื่น
รูปแบบบทความวิชาการโดยทั่วไปมักประกอบด้วย ชื่อบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หน่วยงานต้นสังกัด บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ เนื้อหา สรุป และเอกสารอ้างอิงซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
4.1ชื่อบทความชื่อผู้นิพนธ์ หน่วยงานต้นสังกัดบทคัดย่อคำสำคัญให้ปรับใช้ตามที่ได้แนะนำไว้ในบทความวิจัย ข้อ 3.1-3.5 โดยอนุโลม
4.2บทนำ (Introduction)ข้อเขียนเบื้องต้นที่นำเข้าสู่เนื้อหาเป็นส่วนกล่าวนำ โดยอาศัยการทบทวนข้อมูลจากเอกสาร รายงานวิจัย และหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทความในเรื่องนี้ และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาที่ต้องการนำเสนอให้ผู้อ่านได้รับทราบ เขียนให้ชัดเจน โดยนำข้อมูลที่เป็นเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสนับนุนความเห็นได้อย่างสมเหตุสมผล
4.3 เนื้อหา (Content)คือ ส่วนเป็นเรื่องราวหรือเนื้อหาที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอให้ผู้อ่านได้รับทราบ เนื้อหาที่ดีต้องมีการกำหนดประเด็นและรายละเอียดชัดเจน น่าสนใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางความคิดของผู้เขียนเป็นสำคัญ
4.4 สรุป (Summarizing) เป็นวิธีการเขียนบทความที่ผู้เขียนต้องเขียนให้เหลือเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญ เป็นการกลั่นกรอง การรวบรวม หรือการลดข้อความให้เหลือส่วนที่สำคัญเท่านั้น
4.5 เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) ซึ่งได้นำเสนอไว้แล้วใน (ข้อ 3.13)
รูปแบบบทความวิจัย
(ชื่อบทความ)ภาษาไทย (พิมพ์ตัวหนา, 20pt) (ชื่อบทความ)ภาษาอังกฤษ (พิมพ์ตัวหนา, 18pt) เว้น 1 บรรทัด ชื่อ-นามสกุลผู้นิพนธ์บทความภาษาไทย (14pt) Name and Surname of Author (14 pt) หน่วยงานต้นสังกัด (14pt) เว้น 1 บรรทัด บทคัดย่อ (18 pt) (16 pt) (ไม่เกิน 350 คำ).............................................................................. คำสำคัญ : 3-5 คำ Abstract (16pt) (16 pt)(ไม่เกิน 350 คำ)............................................................................... Keyword: …………………………………………………………………………………………………... บทนำ (ทุกหัวข้อให้ชิดซ้าย) (18 pt) (16 pt) .......................................................................................................................วัตถุประสงค์ของการวิจัย (18 pt) (16 pt) .......................................................................................................................วิธีดำเนินการวิจัย(18 pt) (16 pt) .......................................................................................................................ผลการวิจัย(18 pt) (16 pt) .......................................................................................................................อภิปรายผลการวิจัย (18 pt) (16 pt) ....................................................................................................................... สรุปผลการวิจัย (18 pt) (16 pt) .......................................................................................................................ข้อเสนอแนะ(18 pt) 1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 2. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ 3. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป เอกสารอ้างอิง(18 pt) (ไทย)(16 pt) ........................................................................................................... (อังกฤษ) (16 pt) .....................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
บรรณานุกรม (เฉพาะที่อ้างในบทความ) ....................................................................................................................................................................... |
1 นิ้ว หรือ 2.54 ซม. |
1.5 นิ้ว หรือ 3.81 ซม. |
1 นิ้วหรือ 2.54 ซม. |
รูปแบบบทความวิชาการ
1.5 นิ้ว หรือ 3.81 ซม. |
(ชื่อบทความ)ภาษาไทย (พิมพ์ตัวหนา, 20pt) (ชื่อบทความ)ภาษาอังกฤษ (พิมพ์ตัวหนา,18pt) เว้น 1 บรรทัด ชื่อ-นามสกุลผู้นิพนธ์บทความภาษาไทย (14pt) Name and Surname of Author (14 pt) หน่วยงานต้นสังกัด (14pt) เว้น 1 บรรทัด บทคัดย่อ (18 pt) (16 pt) (ไม่เกิน 350 คำ)........................................................................... คำสำคัญ : 3-5 คำ Abstract (16pt) (16 pt) (ไม่เกิน 350 คำ)............................................................................ Keyword: .............................................................................................................. บทนำ (ทุกหัวข้อให้ชิดซ้าย) (18 pt) (16 pt) ....................................................................................................... เนื้อหา (18 pt) (16 pt) ....................................................................................................... สรุป(18 pt) (16 pt) ....................................................................................................... เอกสารอ้างอิง (18 pt) (ไทย)(16 pt) ........................................................................................................... (อังกฤษ) (16 pt) ......................................................................................................
.............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
บรรณานุกรม (เฉพาะที่อ้างในบทความ) ....................................................................................................................................................................... |
1 นิ้ว หรือ 2.54 ซม. |
- การเขียนเอกสารอ้างอิง ตามแบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6(แทรกในเนื้อหาท้ายข้อความ)
5.1หนังสือ
5.1.1 คัมภีร์พระไตรปิฎกหรือหนังสือสำคัญพิมพ์เป็นชุด
ให้อ้างชื่อย่อคัมภีร์ เล่ม/ข้อ/หน้า และคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)
ตัวอย่าง
อ้างพระไตรปิฎกภาษาบาลี(ที.สี. (บาลี), 9/276/97)
อ้างพระไตรปิฎกภาษาไทย(ที.สี. (ไทย), 9/276/97)
5.1.2 หนังสือและวารสาร
(ผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์: เลขหน้าที่อ้างอิง)
ผู้แต่งคนเดียว ให้ระบุ ชื่อ-นามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม หากเป็นพระภิกษุทั่วไปให้ใส่คำว่าพระ, พระมหานำหน้าชื่อตามด้วยฉายานาม (ชื่อภาษาบาลี) และพระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ให้ใส่ชื่อสมณศักดิ์ ตามด้วยชื่อตัวในเครื่องหมายวงเล็บ ถ้าไม่ทราบชื่อตัวให้ใส่เฉพาะชื่อสมณศักดิ์
ตัวอย่าง
(ทวีศักดิ์ ทองทิพย์, 2561)
(TaweesakTongtip, 2018)
(พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ, 2544)
(PhraMahaSomjinSammapanno, 2001)
(พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), 2557)
(Phraphrombandit (PrayūnThammačhittō), 2014)
ผู้แต่งมากกว่า 1 คน แต่ไม่เกิน6 คนให้ระบุ ชื่อ-นามสกุล ของผู้แต่งแต่ละคนให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,” หน้าผู้แต่งคนสุดท้ายต้องคั่นด้วย “และ” สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ“and” หรือ “&”สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ
ตัวอย่าง
(ดอกจันทร์, พรมกุล และ โยทุม, 2552)
(Dokchan, Phromkun and Yothum, 2009)
ผู้แต่งมากกว่า 6 คนขึ้นไปให้ระบุ ชื่อ-นามสกุล ของผู้แต่งคนแรกให้คั่นด้วยเครื่องหมาย “,”ตามด้วย “และคณะ” หรือคนอื่น ๆ สำหรับผู้แต่งชาวไทย หรือ “et al.” หรือ “and others” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ระหว่างคำให้เว้นระยะห่างด้านหน้าและด้านหลัง 1 เคาะ
ตัวอย่าง
(รัฐสินธุ และคณะ, 2525)
(Ratsin, et al.,1982)
6.การเขียนเอกสารอ้างอิง(ท้ายบทความ)
6.1หนังสือ:
ชื่อ-นามสกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ/(ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี))./เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง
จุมพต สายสุนทร. (2552). กฎหมายระหว่างประเทศ(พิมพ์ครั้งที่ 8 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
Maslow, A. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row Publishers.
6.2. วารสาร:
ชื่อ-นามสกุล. /(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง)./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.
ตัวอย่าง
ปิยะวิทย์ทิพรส. (2553). การจัดการป้องกันและลดสารให้กลิ่นโคลนGeosminใน
ผลิตภัณฑ์แปรรูปสัตว์น้ำ.วารสารสุทธิปริทัศน์, 24(72), 103- 119.
Prescott, S. G. (2015). Will Instructors Save Time Using a Specifications Grading System?.Journal of Microbiology & Biology Education.16(2), 298.
6.3 วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์/รายงานการวิจัย
ชื่อ-นามสกุล. /(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ระดับวิทยานิพนธ์,/ชื่อคณะ/:/ชื่อมหาวิทยาลัย.
ตัวอย่าง
กอ้งเกียรติบูรณศรี. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้ประกอบการขององค์การสภาพ แวดล้อมทางธุรกิจและผลการดำเนินงานในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
PhrachannaBhaddharakhito. (2015). An Analytical Study of Morality inCambodian Traditional Wedding at Chamnomkuet Village, ChamnomSub-district, Mongkolborei District, BanteayMeanchey Province Based on Buddhist Principle. Master of arts. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
6.4สัมภาษณ์:
ชื่อ-นามสกุล. /(วัน เดือน ปีที่สัมภาษณ์ )./ตำแหน่ง(ถ้ามี)./สัมภาษณ์
ตัวอย่าง
พระสมุห์หาญ ปญฺญาธโร, (17 มีนาคม 2562).เจ้าอาวาสวัดป่าอาเจียงหมู่ 14 ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์.สัมภาษณ์.
PhraKrusuvithanphatthanabandhit.(10May2013).Voice-Rector.Interview.
6.5 สื่ออิเล็กทรอนิกส์:
ชื่อ-นามสกุล. /(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ชื่อเว็บไซต์./(วัน เดือน ปี ที่สืบค้น).จากhttp://www.xxxxxxxxxx.
ตัวอย่าง
สุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2553). ธาตุอาหารหลักของน้ำสกัดชีวภาพแบบเข้มข้นจากขยะครัวเรือน. วารสารออนไลน์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (17 มีนาคม 2562).จากhttp://www.journal.msu.ac.th/index.php?option=com_.
Bhandari, P., Rishi, P. and Prabha, V. (2014). Positive Effect of Probiotic LactobacillusPlantarum in Reversing the LPS Induced Infertility in MouseModel. (12 February 2014).
- ส่วนภาพประกอบ (Figure) และส่วนตาราง (Table)
ภาพประกอบและตารางควรมีเท่าที่จำเป็น สำหรับ คำบรรยายภาพและตารางให้พิมพ์เหนือภาพหรือตาราง ส่วนคำอธิบายเพิ่มเติมให้ใส่ใต้ภาพหรือตาราง
การติดต่อโฆษณาและการสมัครสมาชิก
การติดต่อโฆษณา การสั่งซื้อ และการสมัครเป็นสมาชิกวารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ กรุณาติดต่อ “บรรณาธิการ” วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ 305 หมู่ที่ 8 ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 32000
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434
E-mail: Vanamdr@hotmail.com
โทรศัพท์ 09-4514-1161นางสาวจิรารัตน์ พิมพ์ประเสริฐ
08-3374-8741 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บรรจง โสดาดี
086-4654195 ดร.ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม
081-7258693 รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ ทองทิพย์
กำหนดออกวารสารปีละ 2 ฉบับ
ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน
ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม
อัตราค่าวารสาร
จำหน่ายราคา ฉบับละ 150 บาท ไม่รวมค่าส่ง
อัตราค่าสมาชิก
ปีละ 300 บาท
หนังสือขอเสนอบทความเพื่อลงตีพิมพ์ใน “วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์”
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
วันที่...........เดือน....................พ.ศ...........
- ข้าพเจ้าชื่อ......................................ฉายา......................................นามสกุล............................................................
- สถานภาพผู้เขียน
- อาจารย์ในสถาบันการศึกษา (ชื่อถาบัน)........................................................................................................
โปรแกรม....................................................................คณะ..........................................................................................
- บุคคลทั่วไป (ชื่อหน่วยงาน)..........................................................................................................................
- มีความประสงค์ขอตีพิมพ์ ( ) บทความวิจัย( ) บทความวิชาการ เรื่อง
ภาษาไทย......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
ภาษาอังกฤษ.................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................................
- ชื่อผู้เขียนร่วม (ถ้ามี)...............................................................................................................................................
- ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้สะดวก เลขที่......ถนน......................แขวง/ตำบล................................................เขต/อำเภอ........................................จังหวัด.............................รหัสไปรษณีย์...............................................................
โทรศัพท์....................................E-mail...............................................................................................................
- สิ่งที่ส่งมาด้วย
- แผ่นดิสก์หรือไฟล์ข้อมูลต้นฉบับ ชื่อแฟ้มข้อมูล...........................................................................................
- เอกสารพิมพ์ต้นฉบับ จำนวน 2 ชุด
- หากบทความนี้ จำเป็นต้องเชิญให้ผู้ทรงคุณวุฒิคนที่ 3 อ่านอีก ข้าพเจ้ายินดียอมเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มและหากเมื่อข้าพเจ้าแก้ไขแล้วแต่ยังไม่เรียบร้อยและไม่ได้ให้ลงตีพิมพ์ ข้าพเจ้าไม่ติดใจเอาความใด ๆ ทั้งสิ้น จะยอมรับการพิจารณาของกองบรรณาธิการถือว่าเป็นที่สุด และไม่ขอเรียกร้องค่าใช้จ่ายทั้งหมดคืน
ข้าพเจ้าขอรับรองว่าบทความนี้ยังไม่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาวารสารอื่น
ลงนาม..................................................ผู้เขียน
(....................................................)
วันที่.........../............/...........
นโยบายส่วนบุคคล
ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ทางวารสารจะไม่เผยแพร่ข้อมูลของท่าน