ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ

(ปรับปรุง เริ่มใช้ในการพิมพ์ ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม) พ.ศ. 2564)

  1. 1. สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับบทความ

        บัณฑิตศึกษา ห้อง 412 ชั้น 1 อาคารพระพรหมบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ 305 หมู่ 8 ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โทรศัพท์  09-4514-1161, 08-3374-8741, 086-4654195, 08-1725-8693

  1. 2. ขอบเขตวารสาร ประเภท การส่ง ตรวจสอบ การเตรียม และการคัดเลือกบทความ

        วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ มีขอบเขตวารสาร ประเภท การส่ง ตรวจสอบ การเตรียม และการคัดเลือกบทความตีพิมพ์ในวารสาร ดังนี้

2.1 ขอบเขตวารสาร

             วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ เป็นวารสารวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเน้นองค์ความรู้ในมิติศาสนา ปรัชญา การศึกษา สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ และมานุษยวิทยา

        2.2 ประเภทบทความ

             วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ ตีพิมพ์บทความประเภทต่างๆ ดังนี้

      1) บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ บทความที่เขียนขึ้นเป็นผลงานที่ได้จากการทำวิจัย ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อน รูปแบบบทความวิจัยโดยทั่วไปประกอบด้วย ชื่อบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หน่วยงานต้นสังกัด บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลของการวิจัย อภิปรายผลการวิจัย สรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง

      2) บทความวิชาการ (Academic Article) ได้แก่ บทความที่เสนอเนื้อหาความรู้ ลักษณะวิเคราะห์ วิจารณ์ โดยใช้แนวคิด ทฤษฎี หรือนำเสนอแนวคิดใหม่ๆ เพื่อเป็นความรู้สำหรับผู้สนใจทั่วไป ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดๆ มาก่อน รูปแบบบทความวิชาการโดยทั่วไปประกอบด้วย ชื่อบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หน่วยงานต้นสังกัด บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ เนื้อหา สรุป และเอกสารอ้างอิง

      3) บทความในลักษณะอื่น เช่น (1) บทความพิเศษ (Special Article) ได้แก่ บทความที่นำเสนอเนื้อหาความรู้วิชาการ อย่างเข้มข้น และผ่านการอ่านและการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักวิชาการในวงการวิชาการหรือวิชาชีพ (2) บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) การเขียนบทวิจารณ์หนังสือ คือ การค้นหาจุดเด่นและจุดอ่อนของหนังสือเรื่องที่จะวิจารณ์ชี้ให้เห็นจุดอ่อน พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขให้เป็นจุดเด่นขึ้นมา เป็นการวิจารณ์เพื่อสร้างสรรค์ (3) บทความปริทรรศน์ (Review Article) ได้แก่ บทความที่รวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือ วารสาร จากผลงานหรือประสบการณ์ ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์เปรียบเทียบกัน (4) บทความปกิณกะ (Miscellany Article) ได้แก่ บทความทบทวนความรู้ เรื่องแปล ย่อความจากวารสารต่างประเทศ การแสดงความคิดเห็น วิจารณ์ แนะนำเครื่องมือใหม่ ตำราหรือหนังสือใหม่ที่น่าสนใจ หรือข่าวการประชุมทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นต้น สำหรับรูปแบบบทความในลักษณะอื่นโดยทั่วไปมักใช้เช่นเดียวกับบทความวิชาการ

        2.3 การส่งบทความ

     บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ ของบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ต้องผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์ Website: https://so06.tci-thaijo.org/index.php/Vanam_434 และรอการตรวจสอบจากกองบรรณาธิการ

2.4 การตรวจสอบบทความและพิสูจน์อักษร

     ผู้นิพนธ์เตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ทั้งพิสูจน์อักษรก่อนส่งบทความให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็ว และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าผู้นิพนธ์บทความจะแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร

2.5 การเตรียมบทความ

     บทความใช้แบบอักษร (font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK) ขนาดอักษร 16 จัดกั้นหลังตรง สำหรับบทความภาษาอังกฤษให้ใช้แบบอักษร Time Ex Roman ขนาดอักษร 12 และมีระยะห่างระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (double spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษ (A4)  พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษด้านบนและด้านซ้าย ขนาด 3.81 ซม., ขอบด้านขวาและด้านล่าง ขนาด 2.54 ซม. พร้อมใส่หมายเลขหน้าทางมุมขวาบนทุกหน้า บทความมีความยาวไม่เกิน 15 หน้า กระดาษพิมพ์ (A4)  โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง

2.6 การคัดเลือกบทความ

     บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) 3 รูป/คน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้นิพนธ์บทความ และผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double - blind peer review)

  1. 3. รูปแบบบทความวิจัย

        รูปแบบบทความวิจัยประกอบด้วย ชื่อบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้เขียนบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หน่วยงานต้นสังกัด บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลของการวิจัย อภิปรายผลการวิจัย สรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

        3.1 ชื่อบทความ (Article) ให้เขียนชื่อของบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

        3.2 ชื่อผู้นิพนธ์ (Name and Surname of Author) ให้เขียนชื่อผู้นิพนธ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

          3.3 หน่วยงานต้นสังกัด (Affiliated agency) ให้เขียนว่าผู้เนิพนธ์บทความมีหน่วยงานต้นสังกัดจากที่ใด (สาขาวิชา คณะ มหาวิทยาลัย) หรือกรณีเป็นนิสิต นักศึกษา ควรมีรายละเอียด เช่น หลักสูตร สาขา มหาวิทยาลัย ปีดำเนินงานวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมไว้เป็นเชิงอรรถแสดงไว้ตอนบนทางด้านขวาของหน้ากระดาษใต้เชื่อบทความที่เป็นภาษาอังกฤษ

3.4 บทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อมีความยาวไม่เกิน 350 คำ โดยแยกต่างหากจากเนื้อเรื่อง ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เขียนให้ได้ใจความทั้งหมด บทคัดย่อของบทความไม่ต้องอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตาราง ให้มีเนื้อหาเขียนไว้ในบทคัดย่อที่สำคัญเพียง 3 ส่วน คือ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย และผลการวิจัย เท่านั้น

3.5 คำสำคัญ (Keyword) คือ คำที่เขียนขึ้นให้ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา ปรากฏอยู่ในส่วนท้ายของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ละคำเขียนคั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค (Semicolon) (,) ควรมีคำสำคัญไม่เกิน 5 คำ

3.6 บทนำ (Introduction) ข้อเขียนเบื้องต้นที่นำเข้าสู่เนื้อหา เขียนให้เห็นประเด็นความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัยว่ามีภูมิหลังอย่างไร ปัญหาดังกล่าวมีผู้เสนอแนวคิด ทฤษฎี ไว้อย่างไร มีประเด็นใดที่ยังมิได้คำตอบ หากวิจัยเรื่องนี้แล้วคาดว่าจะได้คำตอบปัญหานี้อย่างไร เขียนให้ชัดเจน มีข้อมูลที่เป็นเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องสนับนุนความเห็นได้อย่างสมเหตุสมผล

3.7 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objective) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน ควรเขียนแยกกันให้เห็นเป็นข้อ ๆ

        3.8 วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) เป็นการกำหนด รูปแบบการวิจัย ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง (วิจัยเชิงปริมาณ) กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ให้ข้อมูลหลัก (วิจัยเชิงคุณภาพ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล (ถ้ามี) แต่ละประเด็นมีรายละเอียดชัดเจน

        3.9 ผลการวิจัย (Result) เป็นการนำเสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ในการนำเสนอผลการวิจัย อาจใช้ภาพถ่าย ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิประกอบได้

        3.10 อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) เป็นการอภิปรายผลการวิจัยเข้ากับหลักแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำข้อค้นพบการวิจัยมาอภิปรายเพื่อเชื่อมโยงกับประเด็นปัญหาการวิจัย หรือทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์

        3.11 ข้อเสนอแนะ (Suggestion) การแนะแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์         ผู้นิพนธ์ควรเขียนให้ได้ทั้ง 3 ประเด็น คือ 1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 2) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และ 3) ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

        3.12 การอ้างอิง (Reference) ใช้การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา (In-Text Citation) ตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมาย วงเล็บ ( ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมแพร่หลาย โดยมีกฎเกณฑ์การอ้างอิงที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้มีความชัดเจนในการลงรายการงานเขียนต่างๆ ที่ง่าย ทันสมัย ถูกต้อง การอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศที่มิใช่ภาษาอังกฤษ ให้ผู้นิพนธ์บทความแปลเป็นภาษาอังกฤษอย่างถูกต้อง เป็นรูปแบบเดียวกัน

  1. 4. รูปแบบบทความวิชาการ หรือบทความในลักษณะอื่น

        รูปแบบบทความวิชาการโดยทั่วไปประกอบด้วย ชื่อบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อผู้นิพนธ์บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หน่วยงานต้นสังกัด บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ คำสำคัญภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทนำ เนื้อหา สรุป และเอกสารอ้างอิง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

        4.1 ชื่อบทความ ชื่อผู้นิพนธ์ หน่วยงานต้นสังกัด บทคัดย่อ คำสำคัญ ให้ปรับใช้ตามที่ได้แนะนำไว้ในบทความวิจัย ข้อ 3.1-3.5 โดยอนุโลม

        4.2 บทนำ (Introduction) ข้อเขียนเบื้องต้นที่นำเข้าสู่เนื้อหา เป็นส่วนกล่าวนำ โดยอาศัยการทบทวนข้อมูลจากเอกสาร รายงานวิจัย และหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทความในเรื่องนี้ และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาที่ต้องการนำเสนอให้ผู้อ่านได้รับทราบ เขียนให้ชัดเจน โดยนำข้อมูลที่เป็นเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสนับนุนความเห็นได้อย่างสมเหตุสมผล

        4.3 เนื้อหา (Content) คือ ส่วนเป็นเรื่องราวหรือเนื้อหาที่ผู้นิพนธ์บทความต้องการนำเสนอให้ผู้อ่านได้รับทราบ เนื้อหาที่ดีต้องมีการกำหนดประเด็นและรายละเอียดชัดเจน น่าสนใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางความคิดของผู้นิพนธ์บทความเป็นสำคัญ

        4.4 สรุป (Summarizing) เป็นวิธีการเขียนบทความที่ผู้นิพนธ์บทความเขียนให้เหลือเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญ เป็นการกลั่นกรอง การรวบรวม หรือการลดข้อความให้เหลือส่วนที่สำคัญเท่านั้น

        4.5 การอ้างอิง (Reference) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา ตามหลักเกณฑ์ APA (American Psychological Association) ซึ่งได้นำเสนอไว้แล้วใน (ข้อ 3.12)  

  1. 5. การเขียนเอกสารอ้างอิง ตามแบบ APA ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 (แทรกในเนื้อหา)

        5.1 คัมภีร์พระไตรปิฎก:

พระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ ให้อ้างชื่อย่อคัมภีร์ เล่ม/ข้อ/หน้า

รูปแบบ

หน้าข้อความ

ท้ายข้อความ

อ้างอิงจาก

พระไตรปฎก/

คัมภีร์

ดังในเวรัญชสูตร(ที.สี.(ไทย) 9/246/83.) ที่กล่าวว่า “หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริตกล่าวร้ายพระอริยะ มีความเห็นผิด…”

...ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามทั้งหลาย บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เรียกว่า อธิจิตตสิกขา (องฺ.ติก. (ไทย), 20/87/312)

        5.2 หนังสือ และวาสาร:

      1) กรณีผู้แต่ง 1 คน ให้ระบุ ชื่อ-นามสกุล โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม หากเป็นพระภิกษุทั่วไปให้ใส่คำว่า พระ, พระมหา นำหน้าชื่อตามด้วย ฉายานาม (ชื่อภาษาบาลี) และพระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ให้ใส่ ชื่อสมณศักดิ์ ตามด้วยชื่อตัวในเครื่องหมายวงเล็บ ถ้าไม่ทราบชื่อตัวให้ใส่เฉพาะ ชื่อสมณศักดิ์

รูปแบบ

หน้าข้อความ

ท้ายข้อความ

ภาษาไทย

ทวีศักดิ์ ทองทิพย์ (2561: 1) ให้ทัศนะว่า......

........ (ทวีศักดิ์ ทองทิพย์, 2561: 1)

ภาษาอังกฤษ

 Tongtip, (2018: 1) said that ......

…….. (Tongtip, 2018: 1)

            2) กรณีผู้แต่งมี 2 คน

รูปแบบ

หน้าข้อความ

ท้ายข้อความ

ภาษาไทย

บรรจง โสดาดี และ ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม (2560: 5) ให้ทัศนะวา......

........ (บรรจง โสดาดี และ ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม (2560: 5)

ภาษาอังกฤษ

 Sodadee and Sa-ard-iam, (2017: 5) said that......

……. (Sodadee and Sa-ard-iam, 2017: 5)

      3) กรณีผู้แต่งมากกว่า 3 คนขึ้นไป

รูปแบบ

หน้าข้อความ

ท้ายข้อความ

ภาษาไทย

ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม และคณะ (2560: 5) ให้ทัศนะวา......

...... (ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม และคณะ, 2560: 5)

ภาษาอังกฤษ

Sa-ard-iam et al. (2017: 5) said that......

……(Sa-ard-iam et al. 2017: 5)

5.3  สัมภาษณ์:

ชื่อ-นามสกุล. /(วัน เดือน ปี ที่สัมภาษณ์ )./ตำแหน่ง(ถ้ามี)./สถานที่สัมภาษณ์ เช่น

        พระสมุห์หาญ ปญฺญาธโร, (17 มีนาคม 2562). เจ้าอาวาสวัดป่าอาเจียง หมู่ 14 ตำบลกระโพ

อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์.

PhraKrusuvithanphatthanabandhit. (10 May 2013). Voice-Rector. Interview.

5.4 สื่ออิเล็กทรอนิกส์:

ชื่อ-นามสกุล. /(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ชื่อเว็บไซต์./(วัน เดือน ปี ที่สืบค้น).จาก

http://www.xxxxxxxxxx.  เช่น  

               สุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2553). ธาตุอาหารหลักของน้ำสกัดชีวภาพแบบเข้มข้นจากขยะครัวเรือน.วารสารออนไลน์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (17 มีนาคม 2562). จาก http://www.journal.msu.ac.th/index.php?option=com_.

Bhandari, P., Rishi, P. and Prabha, V. (2014). Positive Effect of Probiotic Lactobacillus

Plantarum in Reversing the LPS Induced Infertility in Mouse Model. (12 February 2014). http://jmm.microbiologyresearch.org/content/journal/jmm/10.1099/jmm.0.000230; jsessionid=1me6a81o04g7o.x-sgm-live-03.

  1. 6. การเขียนเอกสารอ้างอิง (ท้ายบทความ)

        6.1 หนังสือ:

      ชื่อ-นามสกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ/(ครั้งที่พิมพ์(ถ้ามี))./เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.

        6.2. วารสาร:

       ชื่อ-นามสกุล. /(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง)./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.

        6.3 วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์/สารนิพนธ์/รายงานการวิจัย :

      ชื่อ-นามสกุล. /(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ระดับวิทยานิพนธ์,/ชื่อคณะ/:/ชื่อมหาวิทยาลัย.

        6.4 สัมภาษณ์:

      ชื่อ-นามสกุล. /(วัน เดือน ปี ที่สัมภาษณ์ )./ตำแหน่ง(ถ้ามี)./สัมภาษณ์

        6.5 สื่ออิเล็กทรอนิกส์:

       ชื่อ-นามสกุล. /(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ชื่อเว็บไซต์./(วัน เดือน ปี ที่สืบค้น).จากhttp://www.xxxxxxxxxx.

  1. 7. การเขียนภาพประกอบ (Figure) และตาราง (Table)

        ภาพประกอบและตารางควรมีเท่าที่จำเป็น สำหรับ คำบรรยายภาพและตารางให้พิมพ์เหนือภาพหรือตาราง ส่วนคำอธิบายเพิ่มเติมให้ใส่ใต้ภาพหรือตาราง