การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับมืออุทกภัยในพื้นที่บ้านดอนตัน ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ธเนศ ปราบปราม Pibulsongkram Rajabhat University
  • กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, อุทกภัย, การป้องกันความสูญเสีย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับมืออุทกภัย ในพื้นที่บ้านดอนตัน ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งหากประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของตนเองโดยมีส่วนร่วมกับหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการมีส่วนร่วมกันในชุมชน ก็จะเป็นการป้องกันและลดความสูญเสียในชีวิต และทรัพย์สิน เมื่อเกิดอุทกภัยได้ ซึ่งการมีส่วนร่วมรับมืออุทกภัยให้ประสบความสำเร็จ จะต้องมีพื้นฐานมาจากการพัฒนาศักยภาพของประชาชนและรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง หากประชาชนเข้าใจถึงกระบวนการการมีส่วนร่วมและสามารถนำมาจัดการกับการป้องกันอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีได้ ก็จะสามารถยกระดับให้เป็นแบบอย่างให้แก่หมู่บ้านหรือชุมชนอื่นๆ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้ต่อไปในอนาคต

    สำหรับผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับมืออุทกภัย ในพื้นที่บ้านดอนตัน ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่านพบว่าประชาชนมีส่วนร่วมต่อการรับมือกับอุทกภัยอยู่ในระดับสูง เพราะประชาชนตระหนักถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง เมื่อเกิดอุทกภัย ประชาชนจะมีความพร้อมในการรับมืออุทกภัย ตลอดจนถึงการเตรียมตัวช่วยเหลือเพื่อนบ้าน ผู้ประสบภัยรายอื่นได้ทำให้ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากอุทกภัย

References

บรรณานุกรม

1. หนังสือ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2551). สาเหตุของการเกิดอุทกภัย. กรุงเทพมหานคร:กรม
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย.
2. วิทยานิพนธ์ / ดุษฎีนิพนธ์ / สารนิพนธ์ / รายงานการวิจัย
กอบเกียรติ ผ่องพุฒิ. (2552). ศึกษาการขยายเครือข่ายการมีส่วนร่วมของชุมชนและระบบเตือนภัย
ลุ่มน้ำน่านตอนบนเพื่อการป้องกันอุทกภัยและดินถล่ม (รายงานการวิจัย).
กรุงเทพมหานคร: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยเกษตรศาสตร์.
เชิง ผิวประกายเพชร (2553). การวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยลำน้ำพระเพลิงด้วย
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. ภาคนิพนธ์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม.สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การมีส่วนร่วม แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. เอกสารประกอบการศึกษาดู
งานของคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา.
กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
รำลึก อิงเอนุ (2553). การพัฒนาความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรขององค์การ
บริหารส่วนตำบลห้วยยาง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. การศึกษาอิสระรัฐ
ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครอง
ท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สุนันต์ เสาโสภณ. (2554). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการพัฒนาชุมชน:กรณีศึกษา
เทศบาลเมืองเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา. กรุงเทพมหานคร: ภาคนิพนธ์คณะพัฒนา
สังคมและสิ่งแวดล้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04