การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ดาวนภา เกตุทอง มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • โชติ บดีรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การพัฒนา, คุณภาพชีวิต และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย 2) เพื่อต้องการเปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย 3) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย โดยมีตัวแปรอิสระ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน จำนวน 6,386 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดปลายปิด โดยกำหนดตัวเลือกและให้เลือก มีค่าความเชื่อมั่น 0.962 ผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามกลับคืน และมีความสมบูรณ์ถูกต้องสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลได้จำนวนทั้งสิ้น 377 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้ตอบแบบสอบถามปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ (ต่อเดือน) สรุปได้ว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-60 ปี และอยู่ในสถานภาพสมรสแล้ว ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง และมีรายได้ (ต่อเดือน) 10,001-15,000
  2. ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นของประชาชนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์การบริหารส่วนตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้
  3. แนวทางการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรเปิดโอกาสให้ประชานชนทุกคน หรือเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นและร่วมกันพัฒนา โดยคำนึงถึงความคิดเห็นหรือความต้องการของสาธารณชนด้วยการพึ่งตนเอง การพัฒนาตามแนวพระราชดำริในเบื้องต้นเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้ประชานชนมีความแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตต่อไป การให้ความรู้ด้านข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตนั่น ประชาชนต้องเข้าใจให้ถูกต้องก่อนที่จะลงมือปฏิบัติ เพราะการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ดี มีสุขได้อย่างแท้จริงนั้น สิ่งเหล่านี้จะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยมีเจ้าหน้าที่จากรัฐคอยช่วยเหลือ สนับสนุนดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญต้องติดตามและประเมินผล เพื่อทำการวิเคราะห์แก้ไขปัญหา ปรับปรุงต่อไป

References

บรรณานุกรม
1.ภาษาไทย
ณัฐยาภรณ์ สร้อยนาค. (2553). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษากระบวนการปฏิบัติตามนโยบายด้านการสุขาภิบาลอาหารปี พ.ศ. 2543-2551. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฐวุฒิ แพงสวัสดิ์. (2555). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชัยพร อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
เศรษฐกิจพอเพียง, มูลนิธิชัยพัฒนา, http://www.chaipat. or.th/site_content/ item/1309-2010-06-03-09-50-07.html, (สืบค้นวันที่ 7 สิงหาคม 2562).
เศรษฐโชค ศรีละพันธ์. (2554). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนใน เขตเทศบาลตำบลยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สนธยา พลศรี. (2553). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). เอกสารประกอบการระดมความคิดเห็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

2.ภาษาอังกฤษ
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Reading in Attitude Theory and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York : Wiley & Son.
Maslow, Abraham M. (1954). Motivation and Personnality. New York : Harper and Row Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30