การหมิ่นประมาททางสื่อสังคมออนไลน์
คำสำคัญ:
หมิ่นประมาท, สื่อสังคมออนไลน์,, การแสดงความคิดเห็นบทคัดย่อ
การติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตมีข้อดีที่ทำให้ข้อมูลต่างๆ สามารถส่งผ่านไปยังผู้อื่นได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน การหมิ่นประมาทผู้อื่นผ่านการโพสต์หรือแสดงความคิดเห็นก็เกิดขึ้นได้ง่ายเช่นกัน แม้ว่ากฎหมายประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศจะได้บัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดจากการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทไว้ แต่ก็ไม่อาจหยุดการหมิ่นประมาทได้ เพราะผู้คนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่าย และคิดว่าตนเองมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การหมิ่นประมาททางสื่อสังคมออนไลน์ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทได้รับความเสียหายมากกว่าการหมิ่นประมาทด้วยวาจาหรือวิธีการอื่นๆที่เคยเกิดขึ้น เพราะอาจมีบุคคลที่สามที่ได้รับข้อเท็จจริงอันเป็นการหมิ่นประมาทเป็นจำนวนมากและรวดเร็ว ผ่านการแชร์ข้อมูลนั้นๆ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของคนได้ทั่วโลก อีกทั้งกว่าที่จะมีการดำเนินคดีจนเสร็จสิ้นตามกระบวนการยุติธรรม ผู้ที่ได้รับความเสียหายอาจเกิดความอับอายจนไม่อาจเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้น แม้ว่าการแสดงความคิดเห็นจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน แต่รัฐควรคุ้มครองประชาชนโดยมีหน่วยงานที่ดูแลพิจารณาคัดกรองและมีอำนาจลบข้อมูลที่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทอย่างรวดเร็ว และอาจกำหนดความผิดและโทษของการหมิ่นประมาททางสื่อสังคมออนไลน์เป็นการเฉพาะ
References
เฉลิมชัยศรี เพ็ญตระกูลชัย. (2552). การคุ้มครองเกียรติ : ศึกษาคุณธรรมทางกฎหมายในความผิด
ฐานดูหมิ่นเปรียบเทียบความผิดฐานหมิ่นประมาท. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย:
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
จิตติ ติงศภัทิย์. (2553). คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอน 2 และภาค 3. (พิมพ์ครั้งที่
กรุงเทพฯ: บริษัท ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง จำกัด.
ไกรฤกษ์ เกษมสันต์. (2559). คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาคความผิด มาตรา 288 - มาตรา
366. (พิมพ์ครั้งที่ 10) กรุงเทพฯ: บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด.
คณพล จันทน์หอม. (2561). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคความผิด เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 3)
กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
สํานักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). การสํารวจการมีการใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561 (ไตรมาส 1). ออนไลน์.
แหล่งที่มา :
http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8
%b2%e0%b8%99ICT/%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b9%82%e
0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b8%b5%e0%b9%83%
e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b9%80
%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99/2561/ict61-
CompleteReport-Q1.pdf. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2563.
พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. ออนไลน์. แหล่งที่มา
https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_11/pdf/aw
016.pdf