การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • พีระวัฒน์ จิโน วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น
  • พัฒนพันธ์ เขตต์กัน มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ความชรา, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก 2)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในเชิงปริมาณ จำนวน 370 คน และและเชิงคุณภาพ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน นำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า

  1. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ทั้งหมด 7 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านที่พักอาศัย และรองลงมาตามลำดับคือ ด้านสวัสดิการทางภาครัฐ ด้านสังคมเศรษฐกิจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสภาพแวดล้อม ด้านร่างกายและด้านจิตใจ
  2. เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพสมรส จำนวนบุตร การศึกษาสูงสุด การประกอบอาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนและความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน มีผลต่อปัจจัยด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสภาพสิ่งแวดล้อม ด้านสังคมเศรษฐกิจ ด้านที่พักอาศัยและด้านสิทธิสวัสดิการทางภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

บรรณานุกรม
กนกพรรณ จันทร์วงษ์. (2550).คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริการในสถานี
บริการน้ำมันในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปะ
ศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา). โครงการบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
กัญญาภัทร อินทรสอาด. (2551). ความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับ
การดำเนินงานด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของเทศบาลตำบลเวียงฝาง
อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐ
ประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
จิณณ์พัชร์ อาจธัญณ์. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของผู้สูงอายุ:กรณีศึกษา
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนาสังคม). บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชุติเดช เจียนดอน. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท อำเภอ วังน้ำเขียว จังหวัด
นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารสาธารณสุข).
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณัฎฐา ณ ราช. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมือง หนองปรือ อำเภอ
บางละมุง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
การเมืองและการบริหารจัดการ). คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยภรณ์ เลาหบุตร. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ 7 ตำบล พลูตาหลวง
อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชา
การบริหารทั่วไป). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัชรี กลิ่นดี. (2559). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
สามพี่น้อง อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐ
ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน). วิทยาลัยการบริหาร
รัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์.(2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารนโยบายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุใน
จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์
และมนุษยศาสตร์. 8(2) : 249-264.
ภารดี ชีวรุ่งโรจน์. (2556). การเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ของ
เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสน
ศาตรมหาบัณฑิต (สาขาการปกครองท้องถิ่น). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภูริชญา เทพศิริ. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในตำบลทองหลาง อำเภอ บ้านนา
จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหาร
ทั่วไป). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
รุ่งนภา ศรีวิชัย. (2558). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรี
ราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการ
บริหารทั่วไป). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วาสนา เล่าตง. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเกาะสีชัง อำเภอ
เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
การเมืองและบริหารจัดการ). คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริพรรณ รักษาภักดี. (2554). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ คนชราวัยทอง
นิเวศน์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง).
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30