วิถีชุมชนบ้านมะเฟืองผ่านคัมภีร์ใบลานและศิลปกรรมกระจกในสิมวัดมณีจันทร์
คำสำคัญ:
วิถีชุมชุม, คัมภีร์ใบลาน, บ้านมะเฟืองบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งวิเคราะห์วิถีชุมชนบ้านมะเฟืองผ่านคัมภีร์ใบลานและศิลปกรรมกระจกบนผนังสิมของวัดมณีจันทร์ ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
จากการสำรวจพบว่า ชุมชนบ้านมะเฟือง ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นชุมเก่าแก่โบราณ มีสถานะเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นตำบลในสมัยรัชกาลที่ 5 สืบทอดวิถีชีวิตชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน วิถีชุมชนสะท้อนได้จากร่องรอยของคัมภีร์ใบลาน และศิลปกรรมกระจกบนผนังกระจกของสิม
คัมภีร์ใบลานที่พบมีอยู่ 6 ลักษณะ ได้แก่ 1) ล่องรัก 2) ล่องชาด 3) ชาดทึบ 4) ลานดิบ 5) รักทึบ และ 6) ทองทึบ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาบาลีไทยอีสาน ส่วนอักษร ใช้อักษรธรรมอีสานทั้งหมด เมื่อศึกษารายละเอียดในใบลานทั้งหมดพบว่า มีบันทึกเรื่องราวต่างๆ หลากหลาย มีตั้งแต่เรื่องเดียว ผูกเดียว กระทั่งเรื่องเดียว 17 ผูก แยกประเภทได้จำนวนทั้งสิ้น 31 เรื่อง มีตั้งแต่คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา นิทานพื้นบ้าน นิทานชาดก เทศน์อานิสงส์ต่างๆ บทสวดมนต์ ตำราหมอดู ตำราไวยากรณ์
เรื่องราวต่างๆ ในใบลานที่คนเฒ่าคนแก่ในอดีตจาร และเก็บรักษาไว้ สะท้อนให้เห็นแนวโน้ม และความสนใจของชุมชนในท้องถิ่นบ้านมะเฟือง อำเภอพุทไธสงว่ามีแนวโน้ม และสนใจพระพุทธศาสนาในหลายมิติ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของพระสงฆ์ และวิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งมีวัดเป็นศูนย์กลาง หล่อหลอมให้เกิดความดีงามต่างๆ ผ่านความเชื่อ และพิธีกรรม โดยถูกนำมาสะท้อนผ่านศิลปกรรมกระจกร่วมสมัยอีกครั้ง
References
หนังสือทั่วไป
อัศวิณีย์ หวานจริง. (2556). “สุนทรียะในบริบททางสังคมและผลปรากฎจากสภาวะแวดล้อมของ
ศิลปกรรมกระจกบนผนังอุโบสถวัดมณีจันทร์ อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์”, วารสารวิจิตรศิลป์: ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน.
ออนน์ไลน์
รายงานทะเบียนวัด จังหวัดบุรีรัมย์. [ออนไลน์].
แหล่งที่มา: http://www.onab.go.th/wp- content/uploads/2016/08/BuriRam-1.pdf
วิกิพีเดีย, “อำเภอพุทไธสง” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอพุทไธสง.
ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย, “ตำบลมะเฟือง” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://burirum.kapook.com/พุทไธสง/มะเฟือง.
องค์การบริหารส่วนตำบลมะเฟือง, “คำขวัญประจำตำบล” ออนไลน์].
แหล่งที่มา: http://www.mafueang.go.th/index.php/2014-12-17-18-13-28
สัมภาษณ์
นายบุญเลิศ สานนท์ นักภาษาโบราณเชี่ยวชาญ 21 พฤษภาคม 2560
นายบุญเหลือ บุราณสาร นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ 21 พฤษภาคม 2560