ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาหมู่บ้านย่านใหญ่และหมู่บ้านยมราช ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา อินทวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • โชติ บดีรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจพอเพียง, หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง, แนวทางการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านย่านใหญ่และหมู่บ้านยมราช ตำบลท่านางงาม อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนานำมาแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เชิงอนุมาน ทดสอบค่าสถิติ t-test และ F-test การวิเคราะห์เปรียบเทียบเป็นรายคู่แบบ LSD และบรรยายแบบพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านย่านใหญ่และหมู่บ้านยมราช โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการลดรายจ่าย มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประหยัด ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ด้านการเอื้ออารี ด้านการเพิ่มรายได้ และด้านการเรียนรู้ ตามลำดับ 2. เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน มีผลต่อการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านย่านใหญ่และหมู่บ้านยมราช แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  3. แนวทางการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง หมู่บ้านย่านใหญ่และหมู่บ้านยมราช พบว่า ประชาชนใช้พื้นที่ว่างในการปลูกผักไว้กินเอง มีการรวมกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพเสริม รณรงค์ให้รู้จักเก็บออมผ่านกลุ่มออมทรัพย์ อนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาความรู้และเผยแพร่ให้สมาชิกในหมู่บ้านนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตนเองแบบค่อยไปค่อยไป

References

บรรณานุกรม
คณะกรรมการการอำนวยการเศรษฐกิจพอเพียง, กระทรวงมหาดไทย. (2549). หมู่บ้านเศรษฐกิจ
พอเพียงตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน กรมการปกครอง.
ธันยชนก ปะวะละ. (2561). การพัฒนาชุมชนต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับ มั่งมี
ศรีสุข กรณีศึกษาบ้านหนองเผือก อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยาลัยการจัดการ:
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2554). การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของ
ประชาชนในชุมชนเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สวนสุนันทา.
วาสนา ศรีนวลใย. (2551). การดำเนินงานพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาบ้านนาก หมู่
5 ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขา
ยุทธศาสตร์การพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
วิซุตตา ชูศรีวาส. (2559). การดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวอ่าว ตำบลบางช้าง
อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุภาพร ภู่ไพบูลย์. (2558). การจัดการชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านโพธิ์ศรี
อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2542). กรอบแนวคิดทฤษฎี
เศรษฐศาสตร์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง.กรุงเทพฯ: เอสพีเอสพริ้นดิ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายยกรัฐมนตรี. (2560).
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2565.กรุงเทพมหานคร: โรง
พิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แนวทางการพัฒนาหมู่บ้านตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: บริษัท สไตล์ครีเอทีพเฮ้าส์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30