การเสริมสร้างสัมมาชีพของผู้ประกอบการค้าขายผ้าไหม ในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระปลัดวัชระ วชิรญาโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ธีรทิพย์ พวงจันทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

กระบวนการ, สัมมาชีพ, ความสุจริต

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างสัมมาชีพของผู้ประกอบการค้าขายผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหลักสัมมาชีพในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการการเสริมสร้างหลักสัมมาชีพของผู้ประกอบการค้าขายผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์ 3) วิเคราะห์รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างหลักสัมมาชีพของกลุ่มผู้ประกอบการค้าขายผ้าไหมในจังหวัดสุรินทร์

              ผลการวิจัยพบว่า

              1.หลักสัมมาชีพคือการประกอบอาชีพอย่างสุจริตหรือที่เรียกว่าสัมมาชีวะในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นองค์ธรรมหนึ่งในมรรค ๘ เป็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์ การประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คิดเบียดเบียนหรือคดโกงคนอื่นเป็นหนทางแห่งความพ้นทุกข์ของสังคม ผู้ประกอบการค้าขายผ้าไหมต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อเพื่อนร่วมงานและลูกค้า จึงจะทำให้ทำอาชีพนี้ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

              2.รูปแบบและกระวนการเสริมสร้างความสุจริตและความรับผิดชอบของผู้ประกอบการค้าขายผ้าไหมได้รับการถ่ายทอดความซื่อสัตย์สุจริตมาจากพ่อแม่หรือบรรพบุรุษที่สอนให้มีความซื่อสัตย์นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลมาจากหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาที่สอนเกี่ยวกับความไม่โลภ การไม่คดโกง

  1. จากการวิเคราะห์รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้างความสุจริตและความรับผิดชอบของกลุ่มผู้ประกอบการค้าขายผ้าไหมนั้น กลุ่มที่ค้าขายผ้าไหมด้วยความซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อเพื่อนร่วมงานและต่อลูกค้าที่มาซื้อขายกันนั้นทำให้การทำการค้าขายผ้าไหมมีความมั่นคงและยังยืน

References

เอกสารอ้างอิง
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรง
พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย. (2559). แนวทางสร้างสัมมาชีพชุมชน.กรุงเทพมหานคร :
มปพ.
กฤษณพงศ์ กีรติกร. พัฒนาความรู้สู่สัมมาชีพ.เอกสารสัมมนาวิชาการ,สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการ
เรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค).
ปรีดี เกษมทรัพย์. (2526). หลักสุจริตคือหลักความซื่อสัตย์และความไว้วางใจ,(อนุสรณ์งาน
พระราชทานเพลิงศพ รศ.ดร.สมศักดิ์ สิงหพันธุ์ : ม.ป.ป.
ประเวศ วะสี. (2544). เศรษฐพอเพียงและประชาสังคม แนวทางการพลิกพื้นเศรษฐกิจสังคม. พิมพ์
ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิหมอชาวบ้าน.
นายกรัฐมนตรี. สำนัก. (2550). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. การ
ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจเพียง. กรุงเทพมหานคร: คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
พอเพียงสำนักงานคณะกรรมพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30