กระบวนการการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับคริสต์ศาสนาบนพื้นที่สูง ในจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • พระมหาธนกร กิตฺติปญฺโ/สร้อยศรี วิทยาลัยสงฆ์พ่อขุนผาเมือง เพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

กระบวนการ, การเผยแผ่, พระพุทธศาสนา, คริสต์ศาสนา, บนพื้นที่สูง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษากระบวนการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่ราบสูง (2) เพื่อศึกษากระบวนการการเผยแผ่คริสต์ศาสนาบนพื้นที่ราบสูง (3) วิเคราะห์กระบวนการการเผยแผ่พระพุทธศาสนากับคริสต์ศาสนาบนพื้นที่ราบสูง ในจังหวัดเพชรบูรณ์

          งานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) สำรวจเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ( In-depth Interview ) และสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion ) ข้อมูลได้จากเอกสารเชิงวิชาการของศาสนาทั้งสอง เอกสารทางวิชาการ ตลอดถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบบเจาะลึก การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระนักเผยแผ่และพระธรรมจาริก 5 รูป องค์กรศาสนาคริสต์ 5 คน รวม 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลสรุปประมวลเขียนเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการเผยแผ่ศาสนาผ่านทางพระนักเผยแผ่ พระธรรมจาริกและองค์กรศาสนาคริสต์ มีประวัติการเผยแผ่ศาสนามาเป็นเวลาอันยาวนาน จนมาถึงสมัยปัจจุบันนี้ ตลอดทั้งเป็นผู้มีความสำคัญอันดียิ่งต่อการเผยแผ่ศาสนาทั้งสอง สามารถนำคำสอนไปเผยแผ่ในที่ต่างๆ ให้สังคมโลกทั่วไปได้รับรู้ กลวิธีในการเผยแผ่คำสอนของศาสนาทั้งสอง สามารถสรุปได้เป็น 6 ประการ คือ (1) กระบวนการเผยแผ่ศาสนา (2) แนวคิดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและคริสต์ศาสนาเชิงรุกเชิงรับ (3 ) บทบาทหน้าที่และกลวิธีเผยแผ่คำสอน (4) แนวคิดการเผยแผ่คริสต์ศาสนาในประเทศไทย (5) วิเคราะห์ความสำเร็จยุทธศาสตร์-กลยุทธ์ของพระนักเผยแผ่ พระธรรมจาริกและองค์กรคริสต์ศาสนา (6) จุดเด่น จุดด้อยของการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธศาสนาและคริสต์ศาสนา

          ปัญหาและอุปสรรคของการเผยแผ่คำสอนของศาสนาทั้งสอง สามารถสรุปได้เป็น 8 ประการ คือ (1) ปัญหาด้านงบประมาณ (2) ปัญหาด้านการสื่อสารคำสอน (3) ปัญหาด้านนักเผยแผ่ (4) ปัญหาด้านขาดทักษะความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน (5) ปัญหาด้านการคมนาคม (6) ปัญหาด้านการขาดความเชื่อถือและการยอมรับของสังคมชาวพื้นที่สูง (7) ปัญหาด้านขวัญกำลังใจในการทำงาน (8) ปัญหาด้านการกำหนดแผนและนโยบายแผนการปฏิบัติงานประจำปี

              ผลการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ทราบว่า กระบวนการเผยแผ่ศาสนาผ่านทางพระนักเผยแผ่ พระธรรมจาริกและองค์กรคริสต์ศาสนามีบทบาทต่อการเผยแผ่ศาสนา จนสามารถเป็นนักเผยแผ่ที่ดีได้ แต่การศึกษาในเชิงลึก พบว่า พระนักเผยแผ่ศาสนาทั้งสองมีจำนวนน้อยมาก และมีจิตใจนักเสียสละน้อย ดังนั้น คณะสงฆ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรพัฒนาระบบการเผยแผ่ให้ทันสมัยกับความเจริญทางสังคม ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิ์ภาพสืบต่อไป

References

11. เอกสารอ้างอิง
ก. เอกสารชั้นปฐมภูมิ ( Primary Sources)
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2535) พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
__________. (2539)
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตธรรม แผนกพระคัมภีร์. (2014). พระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์ (Thai Catholic Bible Complete Version) ภาคพันธสัญญาเดิม และ ภาคพันธสัญญาใหม่. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตธรรม แผนกพระคัมภีร์.
ข. เอกสารชั้นทุติยภูมิ (Secondary Sources)
เสฐียร พันธรังสี. (2516). ศาสนาเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : ผดุงวิทยาการ
พิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30