คำสอนและแนวการปฏิบัติกรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ผู้แต่ง

  • ภัฏชวัชร์ สุขเสน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • บรรพต แคไธสง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • วิเชียร ชาบุตรบุณฑริก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • สมคิด สุขจิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • อิสรพงษ์ ไกรสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • พระครูปัญญาสารบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
  • พระปลัดกิตติ ยุตฺติธโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์

คำสำคัญ:

หลักคำสอน, แนวการปฏิบัติ, วิปัสสนากรรมฐาน, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยเรื่องวิเคราะห์หลักคำสอนและแนวการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาหลักคำสอนและแนวการปฏิบัติกรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต  2) เพื่อศึกษาอิทธิพลหลักคำสอนและแนวการปฏิบัติกรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตที่มีต่อสังคมไทย3) เพื่อศึกษาคุณค่าจากหลักคำสอนและแนวการปฏิบัติกรรมฐานของหลวงปู่มั่น  ภูริทัตโต เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบลงพื้นที่สัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล

              ผลการวิจัยพบว่า

              หลักคำสอนและแนวการปฏิบัติกรรมฐานของท่านมี  2  ลักษณะ  คือ  1)คำสอนที่ท่านประพันธ์ คือขันธะวิมุติสะมังคีธรรมและบทธรรมบรรยาย  2)คำสอนที่ศิษยานุศิษย์จดบันทึกไว้  เช่นมุตโตทัยส่วนแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานของท่านจัดอยู่ในสำนักปฏิบัติธรรมแบบพุทโธตามแนววิธีการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน  

              อิทธิพลหลักคำสอนและแนวการปฏิบัติกรรมฐานของท่านที่มีต่อสังคมไทย แบ่งเป็น 2 ด้านใหญ่ๆ คือ 1) อิทธิพลต่อคณะสงฆ์ทั้งฝ่ายธรรมยุติและมหานิกาย 2) อิทธิพลต่อพุทธศาสนิกชนทั้งในและต่างประเทศ

          คุณค่าจากหลักคำสอนและแนวการปฏิบัติกรรมฐาน เกิดจากข้อวัตรปฏิบัติของท่านกล่าวคือความเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย ปฏิปทาในการปฏิบัติกรรมฐาน ทำให้มีสำนักวิปัสสนากรรมฐานสายหลวงปู่มั่นทั้งฝ่ายธรรมยุติกนิกายและฝ่ายมหานิกายเกิดขึ้นมากมาย

References

เอกสารอ้างอิง
1. ข้อมูลปฐมภูมิ
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวทิยาลัย.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
2. ข้อมูลทุติยภูมิ
1) รายงานวิจัย
สุเชาวน์ พลอยชุม. (2549). สำนักวิปัสสนาสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต. รายงานการวิจัย. ศูนย์
พุทธศาสตร์ศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
2) บทความจากเว็บไซต์ (Web Site):
ปฐม และ ภัทรา นิคมานนท์. ประวัติ ข้อวัตรและปฏิปทา หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต โครงการหนังสือ
บูรพาจารย์ เล่ม 1. ออนไลน์. แหล่งที่มา:
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-mun/lp-mun-
hist-๐๔-๐๑.htm. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30