แนวทางการแก้ไขข้อกฎหมายเพื่อคุ้มครองพระสงฆ์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วัน สุวรรณพงษ์

คำสำคัญ:

ข้อกฎหมาย, คุ้มครอง, พระสงฆ์ในประเทศไทย

บทคัดย่อ

แนวทางการบัญญัติข้อกฎหมายเพื่อคุ้มครองพระพุทธศาสนาพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๒๙ บัญญัติไว้ว่า “พระภิกษุรูปใดถูกจับโดยต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็นสมควรให้ปล่อยตัวชั่วคราว...ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจดำเนินการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้”มี เนื้อหาขัดต่อพระธรรมและพระวินัย ปาติโมกข์) เนื้อหาขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ไม่หวังดีต่อพระภิกษุใช้ประโยชน์จากกฎหมายดังกล่าวเพื่อมาบีบบังคับให้พระภิกษุลาสิกขา กฎหมายปิดโอกาสผู้บริสุทธิ์ ในการป้องกันตนเองจากผู้ไม่หวังดี และหากพระภิกษุรูปนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ ก็เป็นการตัดโอกาสท่านในการดำรงเพศเป็นพระภิกษุและตัดโอกาสชาวบ้านที่ต้องการทำบุญกับเนื้อนาบุญส่งผลกระทบไปถึงบุคคลอื่นที่เข้าใจผิดในตัวพระภิกษุที่บริสุทธิ์ ทำให้มีวิบากกรรมติดตัวผู้เข้าใจผิดไปด้วย การให้อำนาจทางบ้านเมืองมากเกินไป ซึ่งในเหตุการณ์ปัจจุบันเมื่อพระภิกษุถูกพนักงานสอบสวนใช้อำนาจให้พระภิกษุสละสมณเพศแล้ว เป็นการลงโทษพระภิกษุ และใช้อำนาจข้ามขั้นตอนของกฎหมาย เพราะกระทำต่อผู้ต้องหา โดยไม่ทำการสืบสวนสอบสวนและดำเนินคดี ซึ่งอาจลงโทษคนผิดได้

References

บรรณานุกรม
๑. คัมภีร์พระไตรปิฏกและหนังสือทั่วไป
กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือคู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่ง
ของคณะสงฆ์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๒.
กรมศิลปากร. กฎหมายตราสามดวง เล่ม ๔. กรงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๐๖.
เดือน บุนนาค. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๔๘๙.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพ
มหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.

. พจนานุกรมพุทธศาตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ ๙, กรุงเทพมหานคร: โรง
พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ คำ วัด. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม, ๒๕๕๑
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น, ๒๕๔๖.
น้ำแท้ มีบุญสร้าง. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับทันสมัย. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตการพิมพ์, ๒๕๔๙
มองชิเออร์ เอร์. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย (เล่ม ๒). กรงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๑๕

เผยแพร่แล้ว

2021-03-02