บายไซเที๊ยะ:พุทธนวัตกรรมเครื่องแสดงความเคารพบูชาเพื่อเสริมสร้างความมั่งคงในการดำเนินชีวิตของชาวไทยเขมรสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ยโสธารา ศิริภาประภากร

คำสำคัญ:

บายไซเที๊ยะ, บูชา, การดำเนินชีวิต, ชาวไทยเขมร

บทคัดย่อ

บายศรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรมและได้ปรากฏในพิธีกรรมของชาวไทยเขมรสุรินทร์ได้แสดงถึงการให้ความสำคัญ บายศรีถาด เป็นสัญลักษณ์แห่งการสื่อสาร หรือบูชาต่อสิ่งสูงสุด อาทิเช่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา บรรพบุรุษ และดวงวิญญาณที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งการไหว้สักการบูชา เซ่นไหว้ บวงสรวง เป็นเครื่องบรรณาการที่ถวายเพื่อเป็นการแสดงถึงความเคารพบูชา และยอมรับด้วย การจัดทำบายศรีนี้ก็เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจอีกวิธีหนึ่ง ในวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันต้องมีกำลังใจ ที่ต้องต่อสู้ อดทนต่อไป บายศรีของชาวไทยเขมรสุรินทร์ยังเป็นมรดกที่คงเหลืออยู่ในชุมชนของชาวไทยเขมรสุรินทร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้

References

บรรณานุกรม
๑.คัมภีร์พระไตรปิฎกและหนังสือทั่วไป
ว. จีนประดิษฐ์. อำนาจลึกลับของร่างทรง ฉบับมาตรฐานและสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ รุ่งแสงการพิมพ์, ๒๕๓๘.
ศิริพร สุเมธารัตน์.ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุรินทร์. คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, ๒๕๓๕.
อิศราพร จันทร์ทอง. บทบาทหน้าที่ของพิธีกรรมแก็ลมอของชาวกูยบ้านสำโรงทาบอำเภอสำโรง ทาบ จังหวัดสุรินทร์. ม.ป.พ., ๒๕๓๗.
ประกอบ ผลงาม. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์เขมรถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, ๒๕๓๘.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.วัฒนธรรมกับการพัฒนาทางเลือกของสังคม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, ๒๕๔๐.
สำนักงานจังหวัดสุรินทร์.บรรยายสรุปจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: สำนักงานจังหวัดสุรินทร์, ๒๕๓๙.
โกลัญญา ศิริสงวน. สัญลักษณ์ในบายศรีของชาวไทยเขมรสุรินทร์. สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนา ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, ๒๕๕๖.
๒. วิทยานิพนธ์
เรณู เหมือนจันทร์ฉาย. “อิทธิพลความเชื่อประเพณีและพิธีกรรมของชาวไทยโซ่งที่มีผลต่อการพัฒนา
คุณภาพชีวิต”. ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนาชนบทศึกษา. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาลัยมหิดล, ม.ป.ป.

๓. สัมภาษณ์
สัมภาษณ์ พระครูโสภณธรรมรังสี, เจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์ (ธ), ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐.
สัมภาษณ์ พระสำเริง โกวิโท, เลขาเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์ (ธ), ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐.
สัมภาษณ์ แม่ชีเบ็ญนุจชนาจารย์, ผู้มีประสบการณ์ , ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐.
สัมภาษณ์ อาจารย์ สุริยา คลังฤทธิ์, นักวิจัยอิสระ,๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐.
สัมภาษณ์ นางอวย จาบประโคน,บ้านตะโก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์, ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๐.
สัมภาษณ์ นางพลอย บำรุงชีพ,บ้านตะโก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์, ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๐.
สัมภาษณ์ นายบุญสา คลังฤทธิ์, ชาวบ้าน, ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐.
สัมภาษณ์ นาง ทองดา คลังฤทธิ์, ชาวบ้าน, ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐.
สัมภาษณ์ พระมหาสุพจน์ สุวรรณจิตโต,๒๕ มีนาคม ๒๕๖๐.
สัมภาษณ์ พระพงษ์เพชร ธัมมะจิตโต, ๒๒ เมษายน ๒๕๖๐.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-02