พุทธวิธี : กุญแจสู่การสื่อสารทางการเมืองไทยปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • พระมหาขุนทอง เขมสิริ
  • สุทัศน์ ประทุมแก้ว

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “พุทธวิธี : กุญแจเปิดประตูสู่การสื่อสารทางการเมืองไทยปัจจุบัน”ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารทางการเมืองเป็นการถ่ายทอดข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับการเมืองโดยตรง กล่าวคือ ระหว่างสมาชิกในระบบการเมือง ทั้งในแง่ของปัจเจกบุคคล และคณะบุคคลกับรัฐบาล ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการสื่อสารระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ เช่น รัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร์ พรรค เป็นต้น หลักการสื่อสารทางการเมืองในภาวะวิกฤตปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความเมตตากรุณา อันจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหาทางออกสำหรับความขัดแย้งระหว่างคู่กรณีได้โดยการสื่อสารนั้นจะต้องไม่ดำรงอยู่บนฐานของผลประโยชน์ส่วนตัว จากหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาว่าด้วยการสื่อสาร ล้วนเป็นหลักการที่ลึกซึ้งที่สร้างสรรค์ให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหลักคำสอนของพระพุทธองค์ยังครอบคลุมถึงหลักจรรยาบรรณ และจริยธรรมของการสื่อสารด้วย สังคมไทยได้นำหลักจริยธรรมการสื่อสารตามแนวพุทธศาสนานี้มาใช้ เพื่อช่วยให้คนในสังคมไทยมีความสุข มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และเป็นการสื่อสารที่ช่วยให้สังคมทุกระดับ เช่น (๑) ระดับปัจเจกบุคคล (๒) ระดับครอบครัว (๓) ระดับชุมชน และ (๔) ระดับประเทศ หรือแม้กระทั้งในระดับสากล คือ ระดับโลกยังคงไว้ซึ่งสันติสุข ปราศจากอคติ และความแตกแยก เป็นต้น

References

บรรณานุกรม
๑. คัมภีร์พระไตรปิฎกและหนังสือทั่วไป
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช- วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช- วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
กาญจนา แก้วเทพ. ทฤษฏีการสื่อสารมวลชน.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ- มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๑.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. หลักพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทายลัยรามคำแหง, ๒๕๒๓.
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. ศาสนา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๑๘.
พัชนี เชยจรรยา เมตตา วิวัฒนานุกูล และถิรนันท์อนวัชศิริวงศ์. แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง จำกัด, ๒๕๓๘.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต).พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ.พิมพ์ครั้งที่ ๑๓. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๕๑.
วีรยุทธ วิเชียรโชติ และนวลเพ็ญ วิเชียรโชติ.“จิตวิทยาการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์” ใน การศึกษาตามแนวพุท. เล่ม ๒. กรุงเทพมหานคร: สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย, ม.ป.ป.
สุวัฒน์ จันทรจำนง. ความเชื่อของมนุษย์เกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, ๒๕๔๐.
หนังสือภาษาอังกฤษ/ English texts
Anura Goonasekara, “Asia and the Information Revolution”, Asian Journal of Communication Vol. 7 No. 2 (1997).
Berlo, D.K. The Process of Communication : Introduction to Theory and Practice, SanFrancisco : Rinehart Press, 1960.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-02