มนุษย์ต้องการศาสนา หรือ ศาสนาต้องการมนุษย์ บทวิเคราะห์ว่าด้วยศรัทธาและปัญหาในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

บทคัดย่อ

เป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างต่อเนื่องว่าศาสนาจำเป็นต่อชีวิตหรือไม่  เพราะไม่ว่าจะมีปัญหาใดก็ตามเกิดขึ้น  ทุกคนมักจะโยงไปสู่ความเชื่อใดความเชื่อหนึ่งเสมอ  โดยเฉพาะความเชื่อนั้นล้วนมีต้นเหตุก็มาจากศาสนา  โดยเฉพาะเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นเมื่อคนอาหรับ ๑๙ คนจี้เครื่องบิน ๔ ลำ ในวันที่ ๑๑ กันยายน ค.ศ.๒๐๐๑ เขาเหล่านั้นแม้จะถูกประณามว่าเป็นผู้ก่อการร้ายที่ก่ออาชญากรรม แต่ก็มีหลายคนในประเทศอิสลามกลับคิดว่าคนเหล่านี้เป็นผู้พลีชีพ วีรบุรุษ และนักรบ[1]   ที่จริงปัญหาลักษณะเดียวกันนี้ปรากฏไปทั่ว  ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีเหตุการณ์ทำร้ายกันหลายครั้ง  ย้อนหลังไปเมื่อราว พ.ศ.๒๕๐๗ ก็มีการทำร้ายกันในไซง่อน ประเทศเวียดนาม  มีเหตุการณ์การประท้วงของชาวพุทธที่ถูกกดขี่โดยผู้นำที่นับถือศาสนาคริสต์จนเกิดความลำเอียงขึ้น การเรียกร้องครั้งนั้นทำให้เกิดการเสียสละชีวิตไปถึง ๑๓ คน และบาดเจ็บอีก ๓๗ คน[2]  ในบทความนี้จึงต้องการนำเสนอแนวคิดเห็นต่างๆ เท่าที่จะช่วยประมวลให้เห็นภาพความเชื่อในแง่มุมทางศาสนาโดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา  เพื่อสะท้อนแง่มุมทางความเชื่อที่เปลี่ยนแปลงมนุษย์อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาว่าศาสนาจำเป็นต่อมนุษย์หรือไม่ 

 

         

References

บรรณานุกรม
๑. คัมภีร์พระไตรปิฏกและหนังสือทั่วไป
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏ ราชวิทยาลัย, ๒๕๒๗.
ลู มารินอฟฟ์. The big questions ชีวิตนี้มีคำถาม. แปลโดย สุรพงษ์ สุวจิตตานนท์. กรุงเทพมหานคร: มายด์, ๒๕๕๑.
พล.ต.ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช. พระพุทธศาสนากับคึกฤทธิ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, ๒๕๔๘.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. วิกฤตพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ๒๕๔๒.
อนันตชัย จินดาวัฒน์. ประวัติศาสตร์โลก (ฉบับสมบูรณ์) จากยุคหินถึงโลกาภิวฒน์. กรุงเทพมหานคร: ยิปซี สำนักพิมพ์, ๒๕๕๔.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). สถานการณ์พระพุทธศาสนาทวนกระแสไสยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด, ๒๕๕๖.
ธเนศ วงศ์ยานนาวา, "บทนำ Carl Schmitt: ตำนานแห่งเทว” ว่าด้วยมิตรและศัตรู, รัฐศาสตร์สาร ปี ที่ 35 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2557).
หนังสือภาษาอังกฤษ/English texts
Bimal Krishna Matilal. Logic, Language and Reality : Indian Philosophy and
Contemporary Issues, second edition. Delhi: Motilal Banarsidass Publishers Private Limited, 2008.
Robert A. Segal. The Blackwell Companion to the Study of Religion. ed. by Robert A. Segal. UK : Blackwell Publishing Ltd.,2006.
St.Augustine, "In Joan Evang", In The Christian philosophy of Saint Augustine. New York : Random House,1967.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-02