การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเทพบริบาลแห่งชนเผ่ากับกลุ่มชาวไทยกวย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • ยโสธารา ศิริภาประภากร

คำสำคัญ:

อาหยะจวย, เทพบริบาล, ชาวไทยกวย, จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

พิธีกรรมการแซนอาหยะจวยของชาวไทยกวยเป็นความเชื่อและพิธีกรรม ที่ได้ปฏิบัติตามและนับถือกันมาแต่โบราณ ได้มีการสืบทอดในรูปแบบของขั้นตอน องค์ประกอบ เครื่องบูชา และได้รับนับถือปฏิบัติกันมา ชาวไทยกวยเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวว่าเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมที่อพยพมาจากจำปาศักดิ์ จากการศึกษานี้เพื่อศึกษาถึงความเชื่อที่ชาวไทยกวยมีต่อเทพบริบาล ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาวไทยกูยกับเทพบริบาล และความสำคัญของเทพบริบาลในฐานะที่กลุ่มชาวไทยกวยเชื่อและบูชา การประกอบพิธีกรรมแซนอาหยะของชาวไทยกวยนั้นเป็นการเพื่อสื่อสารกับเทพบริบาลในรอบปีแห่งการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวผลิตผลการเกษตร การเซ็นไหว้นี้ก็เพื่อการบูชา โดยแบ่งความสำคัญ ๒ ประเด็น นั้นคือ ๑) การเซ็นไหว้ในเดือน ๓ ของทุกปีเพื่อบูชาผลผลิตทางการเกษตร และ ๒) เซ็นไหว้เพื่อขอความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร และน้ำ วัฒนธรรมประเพณีนี้เป็นความสัมพันธ์ที่ชาวไทยกวยมีต่อเทพบริบาล ประดุจเป็นบุคคลสำคัญที่กลุ่มนี้ให้ความสำคัญและนับถือ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ชาวไทยกวยเชื่อว่าเทพบริบาลนี้เป็นประดุจเทวดา อารักษ์ที่สถิตอยู่บนฟ้าแต่ชาวไทยกวยมักนิยมสร้างศาลไว้ทางทิศตะวันตกหมู่บ้าน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกกลุ่มชาวไทยกวยมีความเชื่อว่าเทพบริบาล สามารถคุ้มครองรักษา ให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขได้ไม่ว่าชาวไทยกวยจะพลัดถิ่นไปทิศทางใดก็ตามจะมักนิยมสร้างศาลเพื่ออุทิศถวายแด่เทพบริบาลและในรอบปีจะมีพิธีกรรมเซ็นไหว้นี้เสมอโดยมีการประกอบพิธีกรรมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

References

บรรณานุกรม
๑.คัมภีร์พระไตรปิฏกและหนังสือทั่วไป
ระแบบ ฐิตญาโญ. ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา : พระพุทธศาสนาในอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ การศาสนา, ๒๕๓๐.
คณะกรรมการกองตำรา มหามุกฎราชวิทยาลัย. แปลโดยพระธัมมปทัฏฐกถา แปล ภาค ๖.พิมพ์ครั้ง ที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๗.
ธิดา โมสิกรัตน์ และ จำนงทอง ประเสริฐ. ศาสนาและพิธีกรรมของไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๓. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๘.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-02