วิเคราะห์แนวคิดและปรัชญาของคาร์ล มาร์กซ์

ผู้แต่ง

  • พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม

คำสำคัญ:

ปรัชญาจริยศาสตร์, สังคมคอมมิวนิสต์

บทคัดย่อ

บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาชีวประวัติและแนวคิดเบื้องต้นของคาร์ล มาร์กซ์       ๒) เพื่อศึกษาปรัชญาจริยศาสตร์และสังคมคอมมิวนิสต์ในทัศนะของคาร์ล มาร์กซ์ ๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและปรัชญาของคาร์ล มาร์กซ์ จากการศึกษา พบว่ามาร์กซ์ต้องการเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัย       แต่รัฐบาลไม่ยอมรับแนวคิดและปรัชญาของเขา เขาจึงผันตัวเองไปเป็นนักหนังสือพิมพ์และเขียนหนังสือเผยแพร่แนวคิดและปรัชญาร่วมกับเพื่อนๆ แนวคิดและปรัชญาของมาร์กซ์เป็นการอธิบายถึงสสาร  มนุษย์ การทำงาน อัญภาวะ และระบบคอมมิวนิสต์ เป็นแนวคิดใหม่และแตกต่างไปจากนักปรัชญาคนอื่น มาร์กซ์เสนอปรัชญาจริยศาสตร์ไว้ ๓ ทฤษฎี คือ ทฤษฎีทางอภิปรัชญา ทฤษฎีที่สัมพันธ์กับปรัชญาสังคม และทฤษฎีเศรษฐกิจ ส่วนการวิเคราะห์แนวคิดและปรัชญาของมาร์กซ์นั้นสรุปได้ว่ามีด้านลบและด้านบวก ด้านลบคือบางส่วนของแนวคิดและปรัชญาเป็นอุดมคติมากไปและยากที่จะทำตามได้ ด้านบวกคือบางส่วนของแนวคิดและปรัชญาเป็นแนวทางใหม่และเป็นแนวทางให้สังคมได้มีทางเลือกมากขึ้น

References

บรรณานุกรม

๑. คัมภีร์พระไตรปิฏกและหนังสือทั่วไป
กีรติ บุญเจือ. แก่นปรัชญาปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๒.
คึกฤทธิ์ ปราโมช. ยิว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามรัฐ, ๒๕๓๔.
จันทิมา อ่องสุรักษ์. วิเคราะห์ลัทธิคอมมิวนิสม์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๖.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. ปรัชญาตะวันตกร่วมสมัย ๑. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ๒๕๒๒.
เดือน คำดี. ปรัชญาตะวันตก. ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๒๒.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๐.
๒. ภาษาอังกฤษ
Frederick Engels. Anti-Dühring. Herr Eugen Dühring’s Revolution in Science, Progress Publishers, 1947.
Sutham Shusatayasakul. Ethics. Graduate School, Mahamakut Buddhist University, 2541.
V. I. Lenin. Lenin : Selected Works, Vol. XI. International Publishers, 1952.
๓. เว็บไซต์
[ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://news.voicetv.co.th/world/๙๗๑๑๔.html, [๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-02