พลวัตกระแสพญานาคนิยมในยุคโลกาภิวัตน์
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพญานาคในพระพุทธศาสนาและกระแสแห่งพลวัตพญานาคนิยมในยุคโลกาภิวัตน์ปรากฏการณ์คติความเชื่อในสังคมไทยปัจจุบันมีความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีอยู่จริงหรือไม่ แต่ก็ยังมีผู้ที่พยายามจะเชื่อในอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เหล่านั้น ไม่ว่าจะเชื่อเรื่องภูตผี เทพเจ้า แม้กระทั่งการบูชาสัตว์ประเภทต่าง ๆ เป็นต้นว่า สัตว์เหล่าอยู่ในฐานะที่เป็นตัวแทนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พญานาคหรืองูเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มนุษย์ให้ความเคารพนับถือบูชามาเป็นเวลานาน โดยเห็นว่ากายภาพของพญานาคมีลักษณะแตกต่างกว่าสัตว์ประเภทอื่นๆ กล่าวคือเป็นสัตว์ที่มีพิษเหมือนมีอำนาจซ้อนเร้นอยู่ในตัวของพญานาค ดังนั้นพญานาคจึงมีความขลังที่ลึกลับน่าเกรงขามมีอิทธิพลต่อความเชื่อของมนุษย์ว่าเมื่อไรมนุษย์ทำให้พญานาคพึงพอใจพญานาคก็จะไม่ทำร้ายมนุษย์
References
๑. คัมภีร์พระไตรปิฏกและหนังสือทั่วไป
กรมการศาสนา. พระไตรปิฎก ฉบับหลวง, พระนคร : โรงพิมพ์ศาสนา, ๒๕๑๕
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกา แปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุราชวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมั้ตถสังคหฏีกา. ปริจเฉทที่ ๕ เล่ม ๑ .พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ, ๒๕๕๑
พระสิริรัตนปัญญาเถระ. วชิรสารัตถสังคหะ. พระนคร: โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, ๒๕๑๒.
พิเชษฐ์ บัวคอม. หมู่บ้านหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. อุดรธานี: สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอบ้านดุง, ๒๕๔๙.
วิสันต์ ท้าวสูงเนิน . ตำนานอันเร้นลับจากสายธารแห่งลำน้ำดขงที่มหัศจรรย์เหลือเชื่อบั่งไฟพญานาค. นนทบุรี: วี.ที.เอส., ๒๕๔๘.
หนังสือภาษาอังกฤษ / English texts
Monier-Williams, (๑๙๗๖)..A Sanskrit-English Dictionary. .Delhi: MolitalBanaresidass
๒.วิทยานิพนธ์
พระโสภณวิหารการ (ศิษฐ์ ธรรมโรจน์). “การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องพญานาคในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.
สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ. “ความเชื่อเรื่องนาคของชุมชนอีสานสองฝั่งโขง (ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จนถึงปัจจุบัน)” , วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๔๒.