การศึกษาเชิงวิพากย์ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับคุณค่าทางจริยะ

ผู้แต่ง

  • พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิพากย์ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับคุณค่าทางจริยะได้แบ่งประเด็นที่สำคัญเป็น ๓ ประเด็นคือ  (๑) ปฏิจจสมุปบาทในพุทธปรัชญาเถรวาท  (๒) คุณค่าจริยธรรมในพุทธปรัชญาเถรวาท (๓) ความสัมพันธ์ระหว่างปฏิจจสมุปบาทกับคุณค่าทางจริยธรรม  และมีข้อสรุปที่สำคัญ คือ ปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักความจริงเรียกว่า ธรรมนิยาม  และมีความสัมพันธ์กับคุณค่าทางจริยธรรม  ดังนี้

               (๑) ปฏิจจสมุปบาทเกี่ยวข้องกับหลักมัชฌิมาปฏิปทาอันถือเป็นหลักจริยธรรมขั้นสูงในพุทธปรัชญาเถรวาท  โดยหลักปฏิบัติดังกล่าวเกี่ยวข้องกับคุณค่าแบบสัมพัทธ์กับคุณค่าระดับสังคม คือศีลและกุศลกรรมบถ  โดยมีความสุขที่เกิดขึ้นแก่ตนเองและสังคมเป็นผลตอบแทน ฉะนั้น  ปฏิจจสมุปบาทกับคุณค่าจริยะแบบนี้จึงกล่าวถึงความสุขเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ

               (๒) ปฏิจจสมุปบาทเกี่ยวข้องกับผลที่เกิดขึ้นผ่านการปฏิบัติเท่านั้น  แค่ความรู้แบบญาณวิทยาอย่างเดียวไม่อาจทำให้เข้าใจความจริงข้อนี้ได้  ตามข้อปฏิบัติของมัชฌิมาปฏิปทานั้นเขาสามารถลดละอัตตา  นั้นคือความดับทุกข์และการบรรลุธรรม  ฉะนั้น  ปฏิจจสมุปบาทและคุณค่าจริยธรรมแบบนี้เป็นผลของการปฏิบัติ

References

บรรณานุกรม
๑. คัมภีร์พระไตรปิฎกและหนังสือทั่วไป
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
พระพุทธโฆษาจารย์, วิสุทธิมรรค. แปลโดย คณะกรรมการแผนกตำรามหามกุฏราชวิทยาลัย.พิมพ์ ครั้งที่ ๑๐ . กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘.
ดร.เค.เอ็น.ชยติลเลเก. จริยศาสตร์แนวพุทธ. แปลโดยสุเชาว์น์ พลอยชุม. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย, พ.ศ.๒๕๓๗.
ชัชชัย คุ้มทวีพร. จริยศาสตร์ : ทฤษฎีและการวิเคราะห์ปัญหาจริยธรรม . กรุงเทพมหานคร: ดำเนินการพิมพ์, ๒๕๔๐.
เนื่องน้อย บุณยเนตร. จริยศาสตร์กับปัญหาปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , ๒๕๒๙.
--------------. จริยศาสตร์สภาวะแวดล้อม : โลกทัศน์ในพุทธปรัชญาและปรัชญาตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๗.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) . พุทธธรรม . พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย , ๒๕๔๓ .
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่๑๕. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด, ๒๕๕๓.
พุทธทาสภิกขุ. ปฏิจจสมุปบาท. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา,๒๕๔๓.
-----------. ปฏิจจสมุปบาท หลักปฏิบัติอริยสัจจ์ที่สมบูรณ์แบบ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา,ม.ป.พ.
----------. แนะแนวจริยธรรมร่วมสมัย ชุดที่ ๓จุดหมายปลายทาง และตัวแท้ของจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร: ดวงตะวัน, ๒๕๕๓.
----------. ปฏิจจสมุปบาท จากพระโอษฐ์. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ,๒๕๕๔.
Donald M. Borchert . Encyclopedia of Philosophy. Second Edition. USA : Thomson
Gale Corporation, 2006.
NICHOLAS BUNNIN and E. P. TSUI-JAMES. The Blackwell Companion to Philosophy. SECONDEDITION. UK: Blackwell Publishers Ltd,2003.
ROBERT AUDI. THE CAMBRIDGE DICTIONARY OF PHILOSOPHY. SECOND EDITION.
New York: Cambridge University Press,1999.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-02