คุณค่าและอิทธิพลของกลุ่มปราสาทขอมที่มีต่อคนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พระมหาธงชัย ฐิตโสภโณ
  • พระสุริยนต์ทสฺสนีโย
  • พระครูปริยัติคณานุรักษ์

คำสำคัญ:

คุณค่า, อิทธิพล, ปราสาทขอม, คนท้องถิ่น, จังหวัดศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

คุณค่าและอิทธิพลของกลุ่มปราสาทขอมที่มีต่อคนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษด้านคติความเชื่อพบว่าการสร้างปราสาทขอมเริ่มแรกเป็นการสร้างตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเพื่อเป็นการจำลองโลกและจักรวาลโดยเฉพาะเมืองสวรรค์ว่ามีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้างที่เห็นเด่นชัดคือการจำลองเขาไกรลาสอันเป็นที่ประทับของพระศิวะหรือเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาลซึ่งแต่ละส่วนประกอบก็จะแฝงไปด้วยคติความเชื่อทำให้ผู้พบเห็นสามารถจินตนาการถึงศูนย์กลางจักรวาลและที่ประทับขององค์ศิวะด้านคุณค่าพบว่าทำให้เกิดเอกลักษณ์ประจำถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษไม่ว่าจะเป็นของที่ระลึกอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัยแหล่งเรียนรู้ด้านโบราณสถานทำให้เกิดรายได้แก่ชุมชนจากการนำเอาเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของปราสาทขอมมาสร้างสรรค์งานฝีและของที่ระลึกเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ด้านสังคมและการเมืองนั้นก็มีความสงบสุขเพราะเกิดการเกรงกลัวต่อสิ่งศักดิ์ไม่กล้าทำผิดต่อคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อโบราณสถานนั้นๆนักการเมืองยังนำไปใช้อ้างอิงเพื่อประโยชน์ทางการเมืองอีกด้วยความงามจากสถาปัตยกรรมที่สร้างสรรค์ดีแล้วก่อให้เกิดสุนทรียะแก่ผู้พบเห็นเป็นต้น

References

บรรณานุกรม
๑.คัมภีร์พระไตรปิฎกและหนังสือทั่วไป
จำนง อดิวัฒนสิทธิ์ และคณะ. สังคมวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ ๑๓. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๙.
จรัส พยัคฆราชศักดิ์. อีสาน ๑ ศาสนาและวรรณกรรมนิยมในท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนส โตร์,๒๕๓๔.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. ทฤษฎีสังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๕.
สุเทพ สุนทรเภสัช. "ความเชื่อในเรื่องผีปู่ตา หมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ," ใน สังคมวิทยาของ หมู่บ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพมหานคร: สมาคมสังคมศาสตร์แห่ง ประเทศไทย,๒๕๒๕.
หนังสือภาษาอังกฤษ/English texts
Gordon, Milton M. Assimilation in American Life : The Role Of Race, Religion, And
National Origin. New York: Oxford University Press, 1964.
Roy A., Rappaport. “Religion in Adaptation,” in Ritual and Religion in the Making of
Humanity. UK: Cambridge University Press, 2000.
๒. วิทยานิพนธ์
จิรัสสา คชาชีวะ. “คติความเชื่อและรูปแบบของพระพิฆเนศวร์ที่พบในประเทศไทย”. วิทยานิพนธ์ศศ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๗.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-02