การวิเคราะห์เรื่องเล่าในคัมภีร์ธรรมบท

ผู้แต่ง

  • พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

บทคัดย่อ

ผลการศึกษาวิเคราะห์เรื่องเล่าในคัมภีร์ธรรมบททำให้ทราบว่าคัมภีร์ธรรมบทนั้นมีโครงสร้างเนื้อหาที่โยงกับการเล่าเรื่องแบบนิทาน คือมีการวางประโยคสนทนา การดำเนินเรื่องแบบเน้นไปจิตใจเป็นหลัก และมีการขัดแย้งกันทางศีลธรรม  โดยความขัดแย้งดังกล่าวทำให้เกิดตัวตนในการแก้ไขปัญหาทางศีลธรรมขึ้น โดยโครงสร้างเหล่านี้ทำให้ระบุว่าคนแต่งนั้นมีการเรียนรู้การเขียนงานตามแบบโครงสร้างเรื่องเล่า คือ มีการสนทนา มีการขัดแย้งกัน และมีผลของใจที่เป็นพัฒนาขึ้นเป็นบทสรุปเสมอ

              อีกด้านหนึ่ง คัมภีร์ธรรมบทประกอบไปด้วยทฤษฎีอภิมหาเรื่องเล่าคือแฝงไว้ด้วยมโนคติที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งภายใต้โครงเรื่องเล่า กล่าวคือ มีการชี้แจงเรื่องกรรมและผลกรรมที่เป็นปัญหาให้โต้แย้งไม่จบสิ้น แต่เมื่อใช้หลักความเชื่อในปัญญาของพระพุทธเจ้าในการดำเนินเรื่องเพื่อชี้แจงเรื่องดังกล่าวก็ทำให้ถึงข้อยุติได้  อีกอย่างเรื่องเล่านั้นได้ซ่อนลักษณะชีวิตที่ประเสริฐหรือชีวิตพรหมจรรย์นั้นไว้ทั้งในวิถีชีวิตของฆราวาสและพระภิกษุให้อยู่ร่วมกันได้อย่างไม่ขัดแย้งกัน และมีหลักธรรมเป็นกรอบวางในการประพฤติตนได้อย่างถูกต้องและดีงาม

References

บรรณานุกรม
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรง
พิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๗.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับ ประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๓๑.
กรุงเทพมหานคร : ผลิธัมม์, ๒๕๕๘.
ชาญณรงค์ บุญหนุน. "พุทธศาสนากับอารมณ์". ใน อารมณ์กับจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : วิภาษา,
๒๕๕๔.
David J.Kalupahana. A Path of Morals Dhammapada. Dehiwala : Buddhist Cultural Centre ,
2008.
Gregory Castle. The Blackwell Guide to Literary Theory. Oxford : Blackwell Publishing Ltd.,
2007.
Propp, Vladimir. Morphology of the Fairy Tale. Trans. by Laurence Scott, 2nd rev. ed. Austin : University of Texas Press, 1968.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03