ภาวะผู้นำและกลยุทธ์ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ เขตอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • พระสุเชษฐ์ จนฺทธมฺโม

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, กลยุทธ์คณะสงฆ์ในการบริหาร

บทคัดย่อ

เนื่องจากปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมเศรษฐกิจการเมืองหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันคณะสงฆ์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของหน่วยงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และปรับหน่วยงานให้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลนอกจากผู้บริหารคณะสงฆ์ จะมีความรู้ความเข้าใจมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลรู้เท่าทันเหตุการณ์แล้วผู้บริหารคณะสงฆ์ ต้องมีภาวะผู้นำโดยให้ความสำคัญกับการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ อาศัยความร่วมมือความสามัคคีและความศรัทธาของผู้ร่วมงานภายใต้สภาวการณ์เปลี่ยนแปลงทำให้ผู้บริหารคณะสงฆ์  หลายแห่งต้องตรวจสอบบทบาททั้งของตนเองและประชาชน ว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกับสังคมมากน้อยเพียงใด โดยการตรวจสอบความต้องการการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กรในปัจจุบันและปรับองค์กรให้สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลการตอบสนองเช่นว่านั้นจึงเป็นภาระจำเป็นอันยิ่งใหญ่ของผู้บริหารคณะสงฆ์จะต้องดำเนินการวางแผนพัฒนาแผนปฏิบัติการและแผนการใช้ทรัพยากรขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเห็นได้ว่าผู้บริหารคณะสงฆ์  ที่มีความพร้อมทางด้านวุฒิภาวะความรู้ความสามารถทางด้านศาสตร์และศิลป์ในการบริหารรวมทั้งมีภาวะผู้นำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาภาวะผู้นำและกลยุทธ์ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ เขตอำประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ตามแนวคิดทฤษฎีผู้นำแบบวิถีทางเป้าหมาย (Path-goal Theory) คือ คำนึงถึงสถานการณ์ของผู้นำในการปูทางไปสู่เป้าหมายที่ต้องการและรูปแบบพฤติกรรมผู้นำตามตัวแบบของเฮาส์และมิทเชล (House & Mitchell) ซึ่งมี ๔ แบบคือผู้นำแบบสนับสนุน (Supportive leadership) ผู้นำแบบสั่งการ/ ชี้แนะ (Directive leadership) ผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ (Achievement oriented leadership) และผู้นำแบบมีส่วนร่วม (Participative leadership) ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญจำนวน๔คนและใช้การสัมภาษณ์เป็นกลุ่มทางคณะสงฆ์  ๓๙ คนแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหานำเสนอเชิงบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้นำและกลยุทธ์ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ เขตอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์แต่ละท่านนั้นมีการใช้ภาวะผู้นำแตกต่างกันแล้วแต่สถานการณ์นั้นคือสถานการณ์ที่ต่างกันย่อมต้องการผู้นำที่แตกต่างกันและการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลนั้นจะต้องปรับแบบภาวะผู้นำของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆนอกจากนั้นผู้นำยังสามารถสร้างแรงจูงใจด้วยการทำให้วิธีทางที่จะไปสู่เป้าหมายชัดเจนและง่ายพอที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถทำสำเร็จซึ่งผู้นำแสดงพฤติกรรมด้วยการช่วยเหลือแนะนำสอนงานและนำทางหรือเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลในส่วนของกลยุทธ์ในการบริหารภาวะผู้นำและกลยุทธ์ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ เขตอำประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์แต่ละท่านมีกลยุทธ์ที่ใช้ในการบริหารนั้นต่างก็มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาคุณภาพทางการพัฒนาและเผยแผ่ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มั่นคงโดยมีการสนับสนุนให้เจ้าคณะตำบลหรือบุคลากรทางคณะสงฆ์ได้รับการพัฒนาทางด้านวิชาการการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการศึกษาควบคู่กับการพัฒนาด้านการเผยแผ่ทางพระพุทธศาสนา

References

บรรณานุกรม
กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๑). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการศาสนา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
ธงชัย สันติวงษ์. (๒๕๔๖). การบริหารทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (๒๕๓๔). พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : พิมพอําไพ.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (๒๕๔๙). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระธรรมกิตติวงศ (ทองดีสุรเตโช).(๒๕๔๔). พ.ร.บ. การศึกษาแหงชาติกับอนาคตของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดีจํากัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (๒๕๔๓). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติ.พิมพ์ครั้งที่ ๑๑. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (๒๕๔๖).ภาวะผู้นำความสำคัญต่อการพัฒนาคนพัฒนาประเทศ.กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์ธรรมสภา.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (๒๕๔๕). ภาวะผู้นำ : ความสำคัญต่อการพัฒนาคนพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.
พระพุทธทาสภิกขุ อินฺทปญฺโญ. (๒๔๙๕). เรียนพุทธศาสนาใน ๑๕ นาที. หนังสือชุมนุมเรื่องสั้นพุทธทาสภิกขุ.
พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว). (๒๕๔๙). รัฐศาสตร์เชิงพุทธ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้ากรุ๊ป.
พระมหาอำนวย อานนฺโท (จันทร์เปล่ง). (๒๕๔๒). การศึกษาเรื่องการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (๒๕๔๔). ภาวะผู้นำ.กรุงเทพฯ :บริษัทธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๒). พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช ๒๕๔๒. กรุงเทพฯ :
นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
สุชาติ หงษา. (๒๕๔๕). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาจากอดีตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ. สถาบันบันลือธรรม.
Burns, J. M. (1978).Leadership. New York: Harper and Row.
Dessler Gary. (2114). Management : Principles and Practices for Tomorrow’s Leaders. New Jersey : Pearson Education.
Hersey, P., and Blanchard. (๑๙๘๒).Management of Organization Behavior. New Jersey: Prentice - Hall.
McFarland. (1979). Management : Foundation & Practices.๕th ed. New York : Macmillan Publishing Inc.
Stogdill, Ralph M. (1974). Handbook of Leadership : a Survey of Theory and Research. New York: The Free press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03