การศึกษาวิเคราะห์ประเพณี “พล็อง” ของชาวพุทธ ในเขตเทศบาลตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • เจ้าอธิการวุฒิศักดิ์ ขนฺติธมฺโม แย้มงาม

คำสำคัญ:

พล็อง

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์๑) เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการของประเพณีการทำบุญอุทิศในสมัยพุทธกาล๒)เพื่อศึกษากำเนิดและพัฒนาการประเพณี “พล็อง” ของชาวพุทธ ในเขตเทศบาลตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์๓) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลและแนวทางอนุรักษ์ประเพณี “พล็อง” ของชาวพุทธ ในเขตเทศบาลตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ผลการวิจัยพบว่า

          ๑. กำเนิดและพัฒนาการของประเพณีการทำบุญอุทิศในสมัยพุทธกาลนั้น เกิดจากสาเหตุ ๒ ประการ คือ (๑) ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรมและการเกิดใหม่ (๒) ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องการทำบุญ บาป นรกและสวรรค์ 

          ๒. กำเนิดและพัฒนาการประเพณี “พล็อง” ของชาวพุทธ ในเขตเทศบาลตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ยังไม่ทราบว่ามีกำเนิดมาตั้งแต่เมื่อใด แต่เจตจำนงของประเพณี “พล็อง” มีดังนี้ (๑) เป็นการเตรียมเสบียงอาหารให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว (๒) เพื่อให้บุตรหลานได้รำลึกถึงคุณของมารดา บิดา บุพการีชน แล้วทำบุญอุทิศไปให้ อันเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตา

          ๓. อิทธิพลและแนวทางอนุรักษ์ประเพณี “พล็อง” พบว่า มีอิทธิพล ๓ ด้าน ได้แก่ ๑) มีอิทธิพลต่อจิตใจ คือ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้รำลึกถึงบุพการีชนที่ล่วงลับ ๒) มีอิทธิพลต่อครอบครัว คือ เป็นการสร้างความสามัคคี รักและผูกพัน อันเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ๓) มีอิทธิพลต่อสังคมหรือชุมชน คือ สร้างความ สมานฉันท์และสามัคคีในชุมชนสร้างสันติภาพและความสงบสุข

๔. ด้านแนวทางการอนุรักษ์ประเพณี “พล็อง” คือ  ๑) ควรมีการศึกษา ค้นคว้าความเป็นมาและจุดมุ่งหมายของประเพณี .”พล็อง” ๒) องค์กรหลักของชุมชน ควรให้การสนับสนุน ชี้แจง แนะนำ สร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องของประเพณี “พล็อง”

References

บรรณานุกรม
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระสูตรและอรรถกถา แปล. กรุงเทพมหานคร :มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
มณีพยอมยงค์. ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. เชียงใหม่ : ส. ทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๔๗.
________. วัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ. กรุงเทพมหานคร ; สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๖.
บรรพตเปรมชู, พิธีโฎนตา. สมบัติอีสานใต้. บุรีรัมย์ : วิทยาลัยครูบุรีรัมย์,๒๕๒๒.
แปลกสนธิรักษ์.พิธีกรรมและลัทธิประเพณี. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๐๔.
ปรีชานุ่นสุข. “สารทเดือนสิบมรดกทักษิณ”.อนุสารอ.ส.ท, ปีที่๒๑ฉบับที่๒ (กันยายน๒๕๒๓) :๕๔-๕๕.
วงเดือน คำเวียง. “การศึกษาความเชื่อเรื่องบุญและพิธีกรรมเกี่ยวกับอุโบสถของชาวพุทธในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันราชภัฏ, ๒๕๔๕.
วรภรณ์ตุนา. “โลกทัศน์ในวรรณกรรมอีสานเรื่องสังข์ศิลป์ชัย”.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา-บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๔๓.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03