การศึกษาวิเคราะห์หลักชันตาฆรวัตรในพระพุทธศาสนาเถรวาท กับการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพในปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • พระบุญร่วม ปภากโร ผ่านทอง

คำสำคัญ:

ชันตาฆรวัตร, สมุนไพร, สุขภาพ, การอบสมุนไพร

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องการศึกษาวิเคราะห์หลักชันตาฆรวัตรในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพในปัจจุบัน   เป็นวิจัยเชิงเอกสารโดยมีวัตถุประสงค์  ๓  ประการ  คือ (๑) ศึกษาชันตาฆรวัตรที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท   (๒)  ศึกษาการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพในปัจจุบัน   และ(๓) ประยุกต์หลักชันตาฆรวัตรในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับการอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพในปัจจุบัน  โดยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน  ๑๘ รูป/คน  และศึกษาจากเอกสารแล้วนำมาวิเคราะห์

ผลการศึกษาพบว่า ชันตาฆรวัตรคือข้อปฏิบัติสาหรับใช้ในเรือนไฟของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อป้องกันและรักษาโรค  สร้างภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายแข็งแรงและชันตาฆรวัตรนี้เกิดขึ้นโดยการทูลขอของหมอชีวกโกมารภัจจ์จากชันตาฆรวัตรในสมัยพุทธกาลได้พัฒนามาเป็นห้องอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพในเชิงพาณิชย์

แนวทางการประยุกต์หลักชันตาฆรวัตร  คือการอบสมุนไพรในปัจจุบันควรดำเนินแนวทางที่เน้นในเชิงสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้คนเป็นหลักไม่ใช่เน้นที่ธุรกิจทางการเงิน ซึ่งจะสามารถช่วยให้ผู้คนที่ยากจนมีโอกาสดูแลและรักษาสุขภาพของตนเองได้และการให้ความรู้ในการนวดตามแบบของชันตาฆรวัตรที่ผสมผสานกับสมุนไพรก็จะสามารถสร้างประสิทธิภาพในการอบสมุนไพรได้ดีขึ้น

References

บรรณานุกรม
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
เกศินีลิ่มบุญสืบหลาย,การศึกษาวิเคราะห์บทบาทหมอชีวกโกมารภัจที่ปรากฏในคัมภีร์
พระพุทธศาสนา,วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๔๕).
ปทัตตาภริตาธรรม, ยาสมุนไพรรักษาตามอาการตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า, พิมพ์ครั้งที่๑,
กรุงเทพฯ : ต้นธรรมสานักพิมพ์, ๒๕๓๗.
ปรียานุชวงษ์ตาแพง, อาบอบนวด, พิมพ์ครั้งที่๑, กรุงเทพ: ธิงค์กู๊ด, ๒๕๕๓.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03