ศึกษาปฏิปทาในการถือธุดงค์ของพระมหากัสสปเถระ

ผู้แต่ง

  • พระครูรัตนญาณโสภิต บุญเลิศ รตฺนญาโณ

คำสำคัญ:

ธุดงค์, ปฏิปทา

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาของธุดงค์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาปฏิปทาในการถือธุดงค์ของพระมหากัสสปเถระ และเพื่อวิเคราะห์ธุดงค์ของพระมหากัสสปเถระและการประยุกต์ใช้

ผลการศึกษาพบว่า

          ความเป็นมาของธุดงค์ในพระพุทธศาสนานั้นพบว่า ธุดงค์คือองค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลสองค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หมายถึง เจตนาความตั้งใจขัดเกลากิเลสเจตจำนงค์ความจงใจที่ทำให้ละกิเลสได้ธุดงค์ เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติเป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ธุดงค์นี้เป็นเพียงจริยาวัตรพิเศษอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ข้อบังคับให้ต้องปฏิบัติตามเหมือนวินัย แต่เป็นข้อปฏิบัติที่บัญญัติไว้ตามแต่ใครจะถือปฏิบัติด้วยความสมัครใจ และสำเร็จได้ตามการสมาทานจากการศึกษาผู้วิจัยพบว่าธุดงค์ที่มีมาในพระไตรปิฎกที่จริงแล้วมีเพียง ๘ ข้อเท่านั้นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันว่ามี ๑๓ ข้อเกิดจากการบัญญัติเพิ่มเข้ามาในภายหลังของพระสาวกหรือพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้มีการปฏิบัติกันอยู่แต่ไม่ได้มีการนำเอาไปรวมกับธุดงควัตร ๘ ข้อ จนเวลาผ่านไปหลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันปรินิพพานแล้วพระสาวกจึงได้นำเอาการปฏิบัติที่มีลักษะใกล้เคียงกับธุดงค์ที่มีอยู่แล้วมาบัญญัติและรวมเข้ากับธุดงค์อีก ๕ ข้อ จึงกลายมาเป็นธุดงค์ ๑๓

          ปฏิปทาในการถือธุดงค์ของพระมหากัสสปเถระพบว่าพระมหากัสสปเถระเป็นพระสาวกที่มีบทบาทสำคัญในการจรรโลงพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้ที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านการสมาทานธุดงค์ ท่านมุ่งมั่นในการสมาทานธุดงค์เป็นวัตรอย่างเคร่งครัดพระมหาหัสสปเถระถือธุดงค์๓ข้อเคร่งครัดได้แก่ใช้แต่ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรและถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

          จากการวิเคราะห์ปฏิปทาในการถือธุดงค์ของพระมหากัสสปเถระพบว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการใช้วัตถุสิ่งของอย่างเห็นคุณค่าได้ การถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรสามารถนำมาเป็นแนวทางและประยุกต์ใช้โดยการเป็นผู้เอาใจใส่ในกิจวัตรของพระสงฆ์ การไม่ทอดทิ้งธุระในการบิณฑบาตเพราะการบิณฑบาตเป็นการเผยแผ่พุทธศาสนา การอยู่ป่าเป็นวัตร การอยู่ป่าช่วยส่งเสริมความเป็นผู้ขัดเกลาและความมักน้อยยินดีในเสนาสนะป่าอันสงบสงัดเหมาะแก่การปลีกวิเวกนั่นเองนับได้ว่าการอยู่ป่าของพระมหากัสสปเถระเป็นรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกรูปแบบหนึ่ง

References

บรรณานุกรม
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
พระธรรมกิตติวงศ์. (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ราชบัณฑิต).พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ช่อระกา, ๒๕๔๘.
สมเด็จพระพุฒาจารย์.(อาสภมหาเถระ).พระปฏิบัติศาสนา เรื่องธุดงควัตร.กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๓.
พระราชญาณวิสิฐ และคณะ.คู่มือการศึกษาสัมมาปฏิบัติไตรสิกขา.พิมพ์ครั้งที่ ๔.นครปฐม : บริษัทเพชรเกษม พริ้งติ้ง กรุ๊ป จำกัด, ๒๕๕๒.
ป. หลงสมบุญ.“พจนานุกรม มคธ - ไทย”.พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพมหานคร : บริษัทธรรมสาร จำกัด, ๒๕๔๖.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03