ศึกษาบทบาทวัดกับการสืบสานประเพณีสงกรานต์ : กรณีศึกษาวัด ในเขตอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • พระครูวิจิตรธรรมาทร ติสสฺวํโส

คำสำคัญ:

การสืบสานประเพณีสงกรานต์

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์ ๒)ศึกษาบทบาทของวัดกับการสืบสานประเพณีสงกรานต์ในอำเภอลำปลายมาศ ๓) วิเคราะห์บทบาทของวัดกับการสืบสานประเพณีสงกรานต์ในอำเภอลำปลายมาศผลการศึกษาพบว่า

               ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีที่เก่าแก่ในสังคมไทยตั้งแต่โบราณและได้รับการสืบทอดต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบันกิจกรรที่ทำในประเพณีสงกรานต์ประกอบด้วยการทำบุญเลี้ยงพระ ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว การสรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทราย รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เล่นสาดน้ำ และมีการละเล่นอันหลากหลายของแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศ สงกรานต์ไม่ได้เป็นแค่ปีใหม่ไทยเท่านั้น เพราะกลุ่มชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือดินแดนแถบเอเชียอาคเนย์ที่นับถือพุทธศาสนาเช่นลาว พม่า เขมร รวมทั้งเขตสิบสองปันนาในประเทศจีนล้วนมีประเพณีสงกรานต์เหมือนกัน มีกิจกรรมต่างๆคล้ายกับสงกรานต์ในประเทศไทย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะสงกรานต์เป็นคติของศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ ถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในราชสำนักของดินแดนสุวรรณภูมิยุคต้นพุทธกาล หลังจากนั้นก็แพร่กระจายไปทั่วถึงบ้านเมืองที่อยู่ในผืนแผ่นดินที่นับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดูและศาสนาพุทธ

               อำเภอลำปลายมาศ อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดบุรีรัมย์มีระยะทางห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ประชาชนในเขตอำเภอลำปลายมาศ ทำอาชีพด้านการเกษตร ภาษาพูดมีทั้งภาษาไทย ภาษาลาว ภาษาไทยโคราช ภาษาเขมร คณะสงฆ์อำเภอลำปลายมาศได้มีบทบาทส่วนสำคัญในการสืบสานประเพณีวันสงกรานต์ คือเมื่อถึงวันสงกรานต์วัดแต่ละวัดในเขตอำเภอลำปลายมาศได้นำพุทธศาสนิกชนจัดงานวันสงกรานต์มีการสรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทรายทำบุญตักบาตรเป็นต้น วัดบางแห่งอาจมีกองผ้าป่ามาจากกรุงเทพมหานครและสถานที่อื่นๆ ส่วนมากพระสงฆ์จะประชาสัมพันธ์ ให้ได้รับทราบรับรู้เกี่ยวกับวันสงกรานต์ จะมีพิธีทำบุญตักบาตรหรือบังสุกุลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว วัดในเขตอำเภอลำปลายมาศจะจัดให้มีพิธีทำบุญวันสงกรานต์ทุกวัด

               จากการศึกษาวิเคราะห์การสืบสานประเพณีสงกรานต์ของวัดในอำเภอลำปลายมาศ พบว่ามีการสืบสานประเพณีสงกรานต์ประกอบด้วย การสืบสานด้านการอนุรักษ์ เช่นการจัดกิจกรรมต่างๆ ในวันสงกรานต์เช่น การทำบุตรตักบาตร สรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทรายหรือการจักกิจกรรมในท้องถิ่นของตนเองในแต่ละหมู่บ้าน เช่นวัดโพธิ์ย่อยบ้านยางมีการทำพิธีลอยบาปเป็นต้น การสืบสานด้านการสืบทอด มีการให้ความรู้แก่ชาวพุทธเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ การจัดกิจกรรมในวันสงกรานต์เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบทอดประเพณีสืบไป อิทธิพลของประเพณีสงกรานต์ที่มีต่อความเชื่อของชาวพุทธนั้น เช่นความเชื่อเรื่องราศี ความเชื่อในอานิสงส์การทำบุญ การปล่อยสัตว์ การกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เป็นต้น ความเชื่อเหล่านี้ยังมีอยู่ในประเพณีสงกรานต์

References

บรรณานุกรม
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล.สงกรานต์ใน ๕ ประเทศ : การเปรียบเทียบทางวัฒนธรรม.เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม. ๒๕๓๙.
พระมหาอุดรสุทฺธิญาโณฉวีวรรณสุวรรณาภา.เทศกาลและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในเทศกาลและพิธีกรรมพระพุทธศาสนา.กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๕๓.
ราชบัณฑิตยสถาน.พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕.พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์,๒๕๒๖.
อนุมานราชธน.ประเพณีเกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์. พระนคร : กระทรวงศึกษาธิการ,๒๕๐๐.
http://th.wikipedia.org/wiki.[ ๕ มี.ค. ๒๕๕๕].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03