การศึกษาความเชื่อเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรม ของคนในชุมชน ตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • พระครูปัญญาวัชรคุณ อธิปญฺโญ

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, กรรม, การให้ผลของกรรม, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การศึกษาความเชื่อเรื่องกรรมและการให้ผลของกรรมของคนในชุมชนตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 368 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Ramdom Sampling) โดยใช้แบบสอบถาม พบว่าคนในชุมชนตำบลกระหวัน มีความเชื่อเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนา อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ

 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างความเชื่อเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาของคนในชุมชน

ตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ พบว่า คนในชุมชนเพศหญิงและเพศชายมีความเชื่อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้หญิง มีความเชื่อมากกว่าผู้ชาย ส่วนอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพไม่แตกต่างกัน

References

บรรณานุกรม

คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนา. แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. ๒๕๕๖- พ.ศ. ๒๕๕๘)
ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตำบลกระหวัน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. พิมพ์ครั้งที่ ๑. ศรีสะเกษ: ขุนหาญการพิมพ์, ๒๕๕๖.
บุญชม ศรีสะอาด . การวิจัยเบื้องต้น . พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยสาสน์ , ๒๕๓๕.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๔.
กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์, ๒๕๒๘.
พระพรหมคุณาภรณ์, พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ ๓๕. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
ผลิธมม์ ในเครือบริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด, ๒๕๕๕), หน้า ๒๖๙.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ ๘.
กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓.
รวีวรรณ ชินะตระกูล . การทำวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ที.พี. พริน จำกัด,
๒๕๔๒.
สุนี บุญพิทักษ์, “ศึกษาความเชื่อในผลของความดี” , มปป., หน้า ๖๑.
ชมพู่ ยอดสาร. ความเข้าใจแก่นคำสอนในพุทธศาสนากับการปรับตัวของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยารามคำแหง. ๒๕๕๑.
เดชา อยู่หว่าง. การศึกษาความเชื่อต่อการทำบุญของพุทธศาสนิกชนในเขตอำเภอกันทรวิชัย จังหวัด
มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม. ๒๕๔๗.
พรสวัสดิ์ เพชรแดง “ ความเชื่อเรื่องบุญ – บาป ในพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน
ปลายปีที่ ๖ ในเขตกรุงเทพมหานคร” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขา ศึกษาศาสตร์ - การสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๒๘.
พระมหาสมคิด เหลาฉลาด. “ความเชื่อเรื่องบุญและบาปกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชน มหาบัณฑิต. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๒.
ภัทรา บุญสุยา. “การศึกษาระดับและเปรียบเทียบความเชื่อเรื่องบุญ – บาป ตามกฎแห่งกรรมใน
พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สหวิทยาเขตนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาไทยคดีศึกษา.มหาวิทยาลัยทักษิณ, ๒๕๔๕.
ศิริกุล กลิ่นทอง. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานของข้าราชการที่เข้า ร่วม โครงการการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ๒๕๔๙.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03