ศึกษาคุณค่าจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงกันตรึม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระอธิการชาตรี ชีวสุทฺโธ

คำสำคัญ:

กันตรึม, จริยธรรม

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเพลงพื้นบ้าน จังหวัดสุรินทร์ ๒)ศึกษาพัฒนาการของเพลงกันตรึม ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ ๓)ศึกษาหลักจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงกันตรึม ในเขตอำเภอเมืองสุรินทร์ ผลการศึกษาพบว่า

          เพลงพื้นบ้านเป็นเพลงที่แต่งขึ้นโดยชาวบ้านหรือศิลปินชาวบ้าน ซึ่งอาจจะมีชื่อผู้แต่งเพลงหรือไม่มีชื่อก็ได้ เพลงพื้นบ้านนั้นมีอยู่ทุกภาคของประเทศไทย เป็นเพลงที่กล่าวถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีของผู้คนในภูมิภาคนั้นๆ เพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์ประกอบด้วย เพลงเจรียง เพลงกันตรึมเป็นต้น เพลงพื้นบ้านแสดงถึงความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของคนในจังหวัดสุรินทร์ กันตรึมเป็นการละเล่นเพลงพื้นบ้านของชาวอีสานใต้โดยเฉพาะจังหวัดสุรินทร์ กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านอื่นๆ ของจังหวัดสุรินทร์ เพลงกันตรึมได้รับอิทธิพลมาจากเพลงปฏิพากย์ของเขมรในประเทศกัมพูชา ใช้บรรเลงประกอบความเชื่อทางไสยศาสตร์ เช่นการบวงสรวงเข้าทรงโจลมะม็วต หรือการเล่นบ็องบ๊อต

          กันตรึมนิยมเล่นในงานมงคลต่างๆ เช่นงานบวชนาค งานแต่งงานเป็นต้น เพลงกันตรึมจะกล่าวถึงประเพณี วิถีชีวิต หลักธรรมทางศาสนา คติสอนใจ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ปัจจุบันเพลงกันตรึมในจังหวัดสุรินทร์เน้นไปที่ความสนุกสนาน เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย

          หลักจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงกันตรึมนั้นได้แก่หลักจริยธรรมสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์เช่นหลักการทำบุญในพระพุทธสาสนา การสอนให้เป็นคนขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ การศึกษาเล่าเรียนและการมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ปัจจุบันนี้เพลงกันตรึมแบบเก่าจะหาฟังยาก ส่วนมากจะเป็นกันตรึมประยุกต์ที่เน้นความสนุกสนาน

References

บรรณานุกรม
เจริญชัย ชนไพโรจน์.ดนตรีพื้นบ้านอีสาน.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ภูมิจิต เรืองเดช.กันตรึมเพลงพื้นบ้านชาวเขมรในจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยาลัยครูบุรีรัมย์: จังหวัดบุรีรัมย์,๒๕๒๘.
ภิญโญ จิตต์ธรรม.คติชาวบ้านอันดับ ๑ เพลงชาวบ้าน.สงขลา : โรงพิมพ์เมืองสงขลา ๒๕๑๖.
ศิริ ผาสุก,อัจฉรา ภานุรัตน์และคณะ,เพลง – ดนตรี และการละเล่นพื้นบ้านของชาวสุรินทร์,(สุรินทร์ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ ชมรมหัตถกรรมพื้นบ้านไทย,๒๕๓๖),หน้า ๑๔๗-๑๔๘.
สุกัญญา สุจฉายา.เพลงปฏิพากย์ : บทเพลงแห่งปฏิภาณของชาวบ้านไทย.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,๒๕๒๕.
ภูมิจิต เรืองเดชและคณะ.การละเล่นกันตรึม เพลงพื้นบ้านชาวไทยเขมร.รายงานวิจัย.กระทรวงวัฒนธรรม: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ,๒๕๕๐.
สมจิตร กัลป์ยาศิริ. การวิเคราะห์เพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์บัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๔.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03