ชนเผ่าอารยันกับบ่อเกิดและประเภทของความรู้ตะวันออก

ผู้แต่ง

  • ทวีศักดิ์ ทองทิพย์

บทคัดย่อ

อารยัน (Aryan) หรือ อริยกะ เป็นชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเอเชียกลางบริเวณทุ่งหญ้าอันเป็นที่ราบเหนือทะเลสาบแค็สเปี้ยน (Caspian) ทางตอนใต้ของประเทศรัสเซียปัจจุบัน เมื่อประมาณ ๒๐๐๐ ปีก่อน พ.ศ. ต่อมาเมื่อประมาณ ๑๐๐๐ ปี ก่อน พ.ศ. พวกอารยันกลุ่มหนึ่งได้อพยพออกจากพื้นที่เอเชียกลางลงมาทางตอนใต้ข้ามภูเขาหิมาลัยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย อารยันเป็นชนเผ่าผู้มีความสามารถในการทำศึกสงครามเป็นอย่างมาก จึงลุกไล่เผ่าชนพื้นเมืองเดิม คือ พวกมิลักขะ ที่อาศัยอยู่ก่อนให้ออกไปจากพื้นที่ พร้อมกับได้ทำลายเมืองและหมู่บ้านของชนเผ่าพื้นเมืองเดิมลงได้อย่างราบคาบ เมื่อรบชนะในพื้นที่ใดชาวอารยันก็เข้ายึดพื้นที่เข้าไว้ในอำนาจการปกครองและได้ทอนพวกมิลักขะลงเป็นทาส[1]พร้อมกับตั้งเมืองและหมู่บ้านขึ้นมาแทนชนเผ่าพื้นเมืองเดิม ขยายอาณาเขตการปกครองของตนเองลงไปทางตอนใต้ พร้อมกับการเผยแพร่วัฒนธรรมของเผ่าตนเองไปด้วย ชนเผ่าอารยันจึงถือว่าเป็นผู้ให้แนวคิดอันเป็นบ่อเกิดและประเภทของความรู้ตะวันออกที่สำคัญ นักวิชาการทางปรัชญาเมื่อศึกษาเกี่ยวกับความรู้เหล่านี้ก็จัดเนื้อหาไว้ในประเภทของ “ญาณวิทยา” ซึ่งเป็นปรัชญาบริสุทธิ์สาขาหนึ่งที่ว่าด้วยบ่อเกิด ลักษณะ หน้าที่ ประเภท ระเบียบวิธี

 

 

References

สมัคร บุราวาส.วิชาปรัชญา.พิมพ์ครั้งที่ ๔. (กรุงเทพฯ: สยาม. ๒๕๔๔) หน้า ๔๙.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03