การศึกษาบทบาทชาวพุทธแบบอย่าง : กรณีศึกษาบทบาทของ อนาถบิณฑิกเศรษฐีกับนางวิสาขามหาอุบาสิกา

ผู้แต่ง

  • พระครูวิบูลศีลพรต อาสโภ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการเป็นชาวพุทธแบบอย่างของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ศึกษาบทบาทการเป็นชาวพุทธแบบอย่างของนางวิสาขามหาอุบาสิกาและเปรียบเทียบบทบาทของอนาถบิณฑิกเศรษฐีกับนางวิสาขามหาอุบาสิกา

ผลการศึกษาพบว่าอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นอุบาสกที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะใน ด้านการถวายทาน เป็นชาวพุทธแบบอย่างที่มีบทบาทโดดเด่นในด้านการให้ความอุปถัมภ์ พระภิกษุสงฆ์ดำรงตนมั่นอยู่ในความเป็นอุบาสกที่ดีในพระพุทธศาสนา อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน มีศรัทธามั่นคง เข้าวัดฟังธรรมและตักบาตรทำบุญในพระพุทธศาสนา อย่างสมํ่าเสมอ อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นอุบาสกที่เป็นต้นแบบ เป็นอุบาสกตัวอย่างของชาวพุทธ ท่านสมบูรณ์ด้วยคุณธรรม

นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นอุบาสิกาที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็น เอตทัคคะในด้านการถวายทาน เป็นชาวพุทธแบบอย่างที่มีบทบาทโดดเด่นให้ความอุปถัมภ์ บำรุงพระภิกษุสงฆ์ด้วยการถวายปัจจัย ๔ อ้นสมควรแก่สมณบริโภค มีศรัทธาอย่างมั่นคงในพระพุทธศาสนา ชักชวนญาติ คนรับใช้และบริวารให้หันมานับถือพระพุทธศาสนา ให้ความ ช่วยเหลือสังคมและคนรอบข้างด้วยความเต็มใจและเสียสละ

เปรียบเทียบบทบาทของอนาถบิณฑิกเศรษฐีกับนางวิสาขามหาอุบาสิกา จาก การศึกษาพบว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขามหาอุบาสิกามีบทบาทโดดเด่นด้านการ อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วยการถวายปัจจัย ๔ อันสมควรแก่สมณบริโภคเหมือนกัน มีศรัทธามั่น ในพระพุทธศาสนาอย่างไม่เสื่อมคลายเหมือนกัน สร้างเสนาสนะอันเป็นถาวรวัตถุไว้ใน พระพุทธศาสนาคืออนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดเชตวัน นางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างวัดบุพพาราม ทั้งสองท่านเป็นเศรษฐีใจบุญชอบช่วยเหลืองานสังคมเป็นที'เคารพรักของบุคคลทั่ว ๆ ไป

References

บรรณานุกรม
พระครูกัลป์ยาณสิทธิวัฒน์. เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา . พิมพ์ครั้งที่ ๗. กรุงเทพมหานคร : โรง พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๗.
รังสี สุทนต์. “การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของอนาถบิณฑิกอุบาสกที่ปรากฏในคัมภีร์ พระพุทธศาสนา”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๔.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03