ศึกษาวิเคราะห์วิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพุทธทาสภิกขุ
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธเจ้า เพื่อศึกษาวิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธทาสภิกขุ เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธทาสภิกขุ ผลการวิจัยพบว่าวิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นการเผยแผ่หลักธรรมที่มีเป้าหมาย คือ บุคคล โดยใช้วิธีการสอนตามจริตของบุคคล และใช้หลักโอวาทปาติโมกข์ คือการไม่เบียดเบียน ไม่ทำบาป ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส และส่งพระสาวกไปประกาศชุดแรก จำนวน ๖๐ รูป เป็นการปลูกฝังอบรมให้พุทธศาสนิกชนเป็นคนดีมีศีลธรรมนั้น ถือว่าเป็นหน้าที่โดยตรงของพระสงฆ์สาวกตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน วิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพุทธทาสภิกขุ ท่านพุทธทาส มีนามเดิมว่า เงื่อม นามสกุล พานิช เกิดเมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ในสกุลของพ่อค้าที่ตลาด พุมเรียง ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี บิดา ชื่อ เซี้ยง มารดาชื่อ เคลื่อน มีน้องสองคน เป็นชายชื่อยี่เก้ย และเป็นหญิงชื่อกิมซ้อย บิดาของท่านมีเชื้อสายจีน ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บวชเป็นพระ ตามคตินิยมของชายไทยที่วัดโพธาราม ไชยา ได้รับฉายาว่า"อินทปัญโญ" แปลว่า ผู้มีปัญญา อันยิ่งใหญ่ เดิมท่านตั้งใจจะบวชเรียน ตามประเพณี เพียง ๓ เดือน แต่ ความสนใจ ความซาบซึ้ง ความรู้สึกเป็นสุข และสนุกในการศึกษาและเทศน์แสดงธรรม ตลอดชีวิต ของ ท่านอาจารย์พุทธทาส ท่านย้ำอยู่เสมอว่า "ธรรมะ คือ หน้าที่"
ผลของวิธีการเผยแผ่หลักธรรมของพุทธทาสภิกขุ ได้เริ่มงานศึกษาค้นคว้าหลักพุทธธรรมและงานเผยแผ่มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ผลงานเขียนเรื่องแรกเป็นบทความชื่อ ประโยชน์แห่งทาน ต่อมาเมื่อท่านเดินทางกลับถึงบ้านเกิดแล้วได้เขียนบทความ วิจารณ์สภาพพระพุทธศาสนาและบทบาทของพระสงฆ์เรื่องการปฏิบัติธรรม หนังสือ แก่นพุทธศาสน์ ผลงานเรื่องนี้เป็นผลงานที่สำคัญและเป็นหัวใจสำคัญของผู้สนใจศึกษาธรรมะทั้งหลาย หนังสือเรื่องนี้ได้รับรางวัลขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎก ภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
....................:พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
...................:พระวินัยปิฎก อรรถกถาภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๐.
กรมการศาสนา.ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เนื่องในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๒๕.
คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พุทธวิธีการสอน.กรุงเทพมหานคร : โรง พิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕.
.................:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกศึกษา.พระนครศรีอยุธยา:
ไทยรายวันการพิมพ์,๒๕๕๓.
จินดา จันทร์แก้ว.ศาสนาปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
จำนง ทองประเสริฐ ประวัติศาสตรฺพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพมหานคร :
อภิธรรมมูลนิธิมหาธาตุวิทยาลัย,๒๕๑๔
ประเวศ วะสี.แสวงหาทางออกจากภาวะวิกฤตภายใต้ความซับซ้อนของสังคมไทย, ๒๕๕๘.
ฝ่ายวิชาการภาษาไทย.พจนานุกรมไทย ฉบับทันสมัยและสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร:
พิมพ์ที่บริษัทพิมพ์ดี จำกัด,๒๕๓๕.
พระราชวรมุนี.สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโคมทองประทีป,๒๕๒๔.
พระธรรมปิฎก (ป.อปยุตฺโต) . พุทธวิธีในการสอน.กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภาและสถาบันบันลือ ธรรม, ๒๕๔๗.
พระราชมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต).พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพมหานคร : คณะระดมธรรม, ๒๕๒๕.