การศึกษาวิเคราะห์ วรรณกรรมมหาเวสสันดรชาดก : กรณีศึกษาชูชกกัณฑ์ ในคัมภีร์ใบลาน อักษรขอม
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติของชูชก ที่ปรากฏในวรรณกรรมเวสสันดรอักษรขอม เพื่อศึกษาบุคลิกลักษณะ และคุณสมบัติของชูชกในวรรณกรรมเวสสันดรอักษรขอม เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณค่าในแง่มุมต่างๆที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเวสสันดร อักษรขอม ชูชกกัณฑ์ หลักธรรม การปกครอง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การศึกษา ผลวิจัยพบว่าวรรณกรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์ชูชก ฉบับภาษาเขมรที่นำมาศึกษานี้ จากหลักฐานพบว่า มหาเวสสันดรชาดกของประเทศกัมพูชาเป็นงานพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระหริรักษ์รามา(พระองค์ด้วง) ซึ่งพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. ๒๓๓๙ และทิวงคตในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ นั้นจริงตามที่ ลี ธามเตง กล่าวไว้ และเป็นผู้จารในปีพุทธศักราช ๒๔๖๒ ภาษาที่ใช้แต่ง วรรณกรรมเรื่องมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ชูชก ฉบับอักษรขอม ที่นำมาศึกษาในครั้งนี้ ใช้ตัวอักษรขอมจารลงบนใบลาน ไทยเรียกตัวอักษรชนิดนี้ว่า อักษรบรรจง เขมรเรียกว่าอักษรมูลชูชกมีบุคลิกลักษณะ และคุณสมบัติของชูชกในวรรณกรรมเวสสันดรอักษรขอมชูชก เป็นชาวบ้านพราหมณ์ชื่อทุนนวิฏฐะ ในกาลิงครัฐ มีบิดานามว่าโตลกพราหมณ์ มารดานามว่า นางจันทีพราหมณี เมื่อบิดา มารดาตายหมด อาศัยอยู่กับลุงป้า ที่หมู่บ้านทุนนวิฏฐ ได้นางอมิตตาเป็นภรรยา บุคลิกภายนอกของชูชก หมายถึง กิริยามารยาทของงชูชกที่แสดงออกกวีพรรณนาถึงรูปร่างลักษณะของชูชกไว้เพียงสั้น ๆ ว่าชูชกนั้นเป็นพราหมณ์บุรุษโทษ ๑๘ ประการ
ศึกษาในแง่ของหลักธรรม การปกครอง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมประเพณี และค่านิยมที่มีในยุค พุทธศักราช ๒๔๖๒ ความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้น อย่างเรียบง่าย มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน เอื้อเฟื้อแผ่ ช่วยเหลือในยามทุกข์ยาก มีอาชีพในการทำเกษตรกรรม ตามเศรษฐกิจที่พอเพียง อาชีพที่ได้รับความนิยมมาก ก็คือการได้เข้ารับราชการอยู่ในวัง การแต่งกายก็ยัง นุ่งผ้าถุงโจงกระเบน การตกแต่งความงามก็อาศัยธรรมชาติ เช่น ขมิ้น เป็นต้น คติความเชื่อไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ เชื่อฤกษ์ยาม เชื่อหลักการทางศาสนาพุทธ คือ บาป บุญ คุณโทษ มีความละอายชั่ว กลัวบาป มีความกตัญญูกตเวที เคารพนับถือในพระพุทธศาสนาอย่างสูง
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎก ภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๓๙.
ใบลานอักษรขอม, ฉบับวัดบ้านแขว ตำบลห้วยใต้ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ , ๒๔๖๒.