การศึกษาวิเคราะห์อาบัติที่สัมพันธ์กับอาหารของพระภิกษุที่ปรากฏในพระไตรปิฎกพระพุทธศาสนาเถรวาท
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้วิจัยมุ่งศึกษาวิเคราะห์อาบัติที่สัมพันธ์กับอาหารของพระภิกษุที่ปรากฏในพระไตรปิฎกพระพุทธศาสนาเถรวาท ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ ๒ ประการ คือ
๑) เพื่อศึกษาอาบัติที่สัมพันธ์กับอาหารของพระภิกษุที่ปรากฏในพระไตรปิฎกพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อวิเคราะห์โทษและประโยชน์อาหารของพระภิกษุที่ปรากฏในพระไตรปิฎกพระพุทธศาสนาเถรวาท
ผลการวิจัย พบว่า อาหารเป็นสิ่งที่บริโภคเข้าสู่ร่างกาย เพื่อป้องกันความหิว และป้องกันอันตรายอันเกิดจากสารอาหารที่บริโภคเข้าสู่ร่างกาย อาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เอื้ออำนวยให้ร่างกายมีความสมบูรณ์แข็งแรง และอาหารก็จะมีทั้งคุณและโทษถ้าบริโภคในปริมาณที่ไม่เหมาะสม เพราะว่าถ้าบริโภคมากเกินไป จะส่งผลให้อวัยวะในร่างกายทำงานหนักเกินไปส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้พระสงฆ์รู้จักประมาณในการบริโภค ทรงบัญญัติเกี่ยวกับกิริยา และมารยาทในการฉันอาหาร เพื่อต้องการให้พระภิกษุมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของพระภิกษุ และสามารถรักษาความศรัทธาเลื่อมใสให้เกิดขึ้นแก่ชาวบ้านผู้พบเห็นได้ตลอดไป
References
คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ. กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย”. นนทบุรี: สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ, ๒๕๕๔.
จรูญ ทองถาวร. มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์, ๒๕๓๙.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.