ศึกษาวิเคราะห์หลักจริยธรรมที่ปรากฏในบทเพลงเจรียงเบริน กรณีศึกษาเจรียงเบริน อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระครูสันติโพธิวัตร สนฺติธมฺโม

บทคัดย่อ

เจรียงเบริน เป็นเพลงพื้นบ้านที่นิยมเล่นกันในแถบจังหวัดสุรินทร์ เจรียงเบรินเข้าใจว่าเกิดขึ้นประมาณ ๕๐-๖๐ ปีมานี้ โดยดัดแปลงมาจากบทร้องเก่าแก่ที่เรียกว่า"กัญต็อบไก”  โดยรูปแบบแล้วการเล่นเจรียงเบริน เหมือนกับการเล่นหมอลำกลอนคู่ของชาวไทยลาว และเหมือนเพลงโคราชและลำตัดของภาคกลาง คือเป็นวรรณคดีมุขปาฐะหรือวรรณคดีปากเปล่า จะมีการสัมผัสต่อเนื่องกัน และมีการใช้คำอุปมาอุปไมยหรือการใช้ความเปรียบเทียบเพื่อสร้างภาพพจน์ที่ชัดเจน

          หลักศีลธรรมที่ปรากฎในบทเพลงเจรียงนั้นสามารถแบ่งได้ดังนี้ ศีลธรรมสำหรับชนชั้นปกครอง ศีลธรรมสำหรับบุคคลทั่วไป คือข้อควรประพฤติปฏิบัติและข้อควรละเว้น เพื่อให้เกิดความสุข ความเจริญในการดำเนินชีวิต จากการศึกษาในบทเพลงเจรียงเบรินพบว่าหลักศีลธรรมที่ปรากฎสำหรับบุคคลทั่วไปจำแนกออกเป็น ๓ ประการคือ ๑)ศีลธรรมสำหรับบุคคลตามฐานะ         ๒) ศีลธรรมสำหรับบุคคลตามเพศ ๓) ศีลธรรมสำหรับบุคคลตามวัย

          หลักศีลธรรมที่ปรากฏในบทเพลงเจรียงเบรินนั้นสามารถวิเคราะห์และสรุปลงได้ในหลักธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องเกิด แก่ เจ็บตาย เมื่อกล่าวโดยนัยหนึ่งก็คือหลักไตรลักษณ์ในพุทธศาสนานั่นเอง เพราะทั้งการเกิดแก่เจ็บตายล้วนตั้งอยู่ในความเที่ยงแท้แน่นอน ความไม่มีแก่นสาร ของสรรพสิ่งทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้นักเจรียงได้นำมาแต่งเป็นบทเจรียงเพื่อสอนประชาชนไม่ให้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะชีวิตคนเราไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน มีการเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นธรรมดา

References

บรรณานุกรม

สมจิตร กัลป์ยาศิริ.“การวิเคราะห์เพลงพื้นเมืองและการละเล่นพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์”.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๒๔.
ภูมิจิต เรืองเดช. “เจรียงเบรินหรือโจะกัญโตล”. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ:มหาสารคาม, ๒๕๒๔.
เครือจิต ศรีบุญนาค. “เจรียงเบริน : เพลงพื้นบ้านของชาวไทยเขมร. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสุรินทร์, ๒๕๓๙.
อัษฎางค์ ชมดี. ๑๐๐ เรื่องเมืองสุรินทร์. สุรินทร์ : สำนักพิมพ์สุรินทร์สโมสร,๒๕๕๑.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03