หลักความรับผิดชอบของรัฐโดยปราศจากความผิดกรณีศึกษา : การชิงอาวุธสงครามจากคลังอาวุธของรัฐเพื่อก่ออาชญากรรมในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ความรับผิดโดยปราศจากความผิด, ความรับผิดโดยเคร่งครัด, การรักษาความปลอดภัยสาธารณะบทคัดย่อ
การรักษาความปลอดภัยสาธารณะเป็นหน้าที่ของรัฐซึ่งนานาอารยประเทศซึ่งปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตยยึดถืออย่างเป็นสากล สำหรับประเทศไทยแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะกำหนดให้การรักษาความปลอดภัยสาธารณะเป็นหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 52 ก็ตาม แต่กรณีที่เกิดสาธารณภัยและก่อความเสียหายกับประชาชน บทบัญญัติแห่งกฎหมายของไทยมักอยู่บนพื้นฐานของหลักความรับผิด ที่รัฐจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อรัฐกระทำการโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายเป็นสำคัญ แม้ว่าความเสียหายเช่นว่านั้นจะเป็นผลโดยตรงจากการที่รัฐก่อให้เกิดความเสี่ยงภัยขึ้นกับประชาชนก็ตาม เว้นแต่กรณีที่กฎหมายลายลักษณ์อักษรได้กำหนดให้รัฐจะต้องรับผิดไว้เป็นการเฉพาะเป็นรายกรณีเท่านั้น แตกต่างจากประเทศฝรั่งเศสซึ่งยึดถือว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่รัฐจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งปวงที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากความเสี่ยงภัยที่รัฐเป็นผู้ก่อขึ้นแม้ว่ารัฐนั้นจะมิได้มีความผิดก็ตาม จากความแตกต่างดังกล่าวส่งผลให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติซึ่งอาจกระทบต่อผู้เสียหายจากกรณีการชิงอาวุธสงครามจากคลังอาวุธของรัฐเพื่อก่อความรุนแรงในจังหวัดนครราชสีมาตามมาหลายประการ เช่น ปัญหาการไม่ใช่ผู้ทรงสิทธิเรียกร้องของประชาชนผู้เสียหาย ปัญหาความไม่เสมอภาคในการเยียวยาความเสียหาย และปัญหาความไม่มั่นคงของมาตรการเยียวยาตามกฎหมาย บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาดังกล่าว และนำเสนอแนวทางในการพัฒนามาตรการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับความเสียหายอันเกิดจากความเสี่ยงภัยที่รัฐเป็นผู้ก่อขึ้น ให้มีสอดคล้องกับระบอบเสรีประชาธิปไตยและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญต่อไป
References
เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2561). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.ฐากูร ศิริยุทธ์วัฒนา. (2562). กฎหมายรัฐธรรมนูญ: หลักพื้นฐานแห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์. (2561). ทฤษฎีสิทธิขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2560). กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐโดยปราศจากความผิด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
บุบผา อัครพิมาน. (มปพ.). คำวินิจฉัยและข้อสังเกตในคดีเกี่ยวกับความรับผิดของฝ่ายปกครองใน
ระบบกฎหมายฝรั่งเศส ในรวมบทความทางวิชาการ เล่ม 1 : กฎหมายปกครอง ภาคสารบัญญัติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.
มานิตย์ จุมปา. (2554). คำอธิบายกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. (2563). แถลงสรุปยอดเหตุกราดยิงโคราช ตาย 30 บาดเจ็บ 85 ราย. ออนไลน์. แหล่งที่มา: https://www.dailynews.co.th/crime/756717. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2563.
Thaipbs(2563). รอบ 6 วัน หลังเหตุกราดยิงโคราช มีคนทุกข์ใจกว่า 270 คน. ออนไลน์. แหล่งที่มา: https://news.thaipbs.or.th/content/288959. สืบค้นเมื่อ11 กุมภาพันธ์ 2563.
ณรงค์ฤทธิ์ เพชรฤทธิ์. (2556). ความรับผิดของรัฐโดยปราศจากความผิด. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.
เพรส จำกัด.
กรมประชาสัมพันธ์. (2563). กระทรวงแรงงาน เร่งดูแลช่วยเหลือลูกจ้างผู้ประกันตนที่เสียชีวิตและ
บาดเจ็บ จากเหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา อย่างรวดเร็ว. ออนไลน์. แหล่งที่มา: http://nwnt.prd.go.th/centerweb/News/NewsDetail?NT01_NewsID=TCATG20
0213125923983. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563.
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ (2563). ยธ. อนุมัติเยียวยาผู้เสียชีวิตจากเหตุกราดยิง 27 ศพ. ออนไลน์.แหล่งที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/865993. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2563.
กรมประชาสัมพันธ์. (2563). นายกรัฐมนตรีมอบเงินกองทุนฯ สำนักนายกรัฐมนตรี ช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความรุนแรง ณ จ. นครราชสีมา ย้ำให้บริหารจัดการให้ดี ใช้เงินให้เกิดประโยชน์. ออนไลน์.แหล่งที่มา: https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/26617. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2563).