วิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์เรื่องความกตัญญูผ่านประเพณีผีปู่ตาของชาวอีสาน

ผู้แต่ง

  • พระพัชรพล ปญฺญาธโร วาสรส วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วิเชียร ชาบุตรบุณฑริก วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • บรรพต แคไธสง วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธจริยศาสตร์, ความกตัญญู, ผีปู่ตา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเชิงปรัชญาว่าด้วยพุทธจริยศาสตร์เรื่องความกตัญญูและ2) เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์เรื่องความกตัญญูผ่านประเพณีผีปู่ตาของชาวอีสาน ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดทางปรัชญาพุทธศาสนามีแนวคิดทางปรัชญาปรากฏอยู่โดยเฉพาะแนวคิดทางจริยศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วยความดี ความชั่ว ความถูก ความผิดสิ่งที่ควรเว้น สิ่งที่ควรทำหมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยศีลธรรม หลักศีลธรรม กฎที่ว่าด้วยความประพฤติและพฤติกรรมของมนุษย์ แนวคิดทฤษฎีทางจริยศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในความกตัญญูกตเวทีในประเพณีเซ่นผีปู่ตาของชุมชนชาวอีสานนี้ตั้งอยู่บนฐานแนวคิด มโนธรรมนิยม หมายถึง การรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่วนั้น เป็นความรู้สึกนึกรู้ขึ้นเองในใจหรือสามัญสำนึก ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ต้องใช้เหตุผลในการพิจารณา ไม่ต้องใช้คุณค่า หรือผลของการกระทำในการพิจารณา อะไรถูกหรือผิด สามัญสำนึกของเราเองจะบอกได้ดีกว่าการหาเหตุผลซึ่งสามัญสำนึกของคนเรา มีอยู่เองแล้วตามธรรมชาติ

References

เอกสารอ้างอิง
ชัยวัฒน์อัตพัฒน์. (2543). จริยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ดนัย ไชยโยธา. (2548). ประเพณี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2554). จริยศาสตร์เบื้องต้น: มนุษย์กับอุดมคติและมาตรการทางศีลธรรม.กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้า.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิทย์วิศทเวทย์. (2532). จริยศาสตร์เบื้องต้นมนุษย์กับปัญหาจริยธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04