แนวทางการดำเนินโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ชงโค เกตุทิพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • โชติ บดีรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

แนวทางการดำเนินโครงการ, สัมมาชีพชุมชน, เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนฯ และศึกษาแนวทางการดำเนินโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน ในเขตพื้นที่อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวม คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนานำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าสถิติ (t-test) และ (F-test) การวิเคราะห์เปรียบเทียบเป็นรายคู่แบบ LSD ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนฯ ในเขตอำเภอชนแดน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการสนับสนุนและความร่วมมือจากกลุ่มต่าง ๆ อยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนฯ พบว่า ประชาชนกลุ่มที่มีอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และความเพียงพอของรายได้กับรายจ่าย มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และรูปแบบที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางการดำเนินโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนฯ ในเขตอำเภอชนแดน พบว่า ด้านลักษณะโครงการมีการประชาสัมพันธ์อย่างเหมาะสมให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ด้านการสนับสนุนและความร่วมมือจากกลุ่มต่าง ๆ มีผู้นำในพื้นที่ให้การสนับสนุนในการปฏิบัติงานเป็นอย่างดี ด้านทรัพยากร มีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโครงการมีความรู้และมีทักษะในการถ่ายทอดองค์ความรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนช่วยทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้พบปะ ช่วยเหลือกันในด้านการประกอบอาชีพมากขึ้น ก่อให้เกิดการร่วมกลุ่มอาชีพที่หลากหลาย

References

เอกสารอ้างอิง
กรมการพัฒนาชุมชน. (2548). คู่มือการดำเนินงานเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ตามแผนปฏิบัติการ กรมการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
นิสรา ใจซื่อ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2554). การนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชนเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาสถาบันวิจัยและพัฒนา.
แสงดาว น้ำฟ้า. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสําเร็จของโครงการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมือง เทศบาลตําบลแหลมฉบัง อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อิสรา เสยานนท์ และ ไพรินทร์ สมภพสกุล. (2553). การสร้างมูลค่าการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ ธุรกิจโฮมสเตย์ : กรณีศึกษาโฮมสเตย์บริเวณตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04