ความสำเร็จในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน
คำสำคัญ:
ความสำเร็จ, สัมมาชีพชุมชน, การขับเคลื่อนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชนให้เกิดความสำเร็จของโครงการสัมมาชีพชุมชนเป็นกิจกรรมภายใต้แนวคิดการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีแผนชุมชนเป็นเครื่องกำกับการพัฒนา เมื่อได้ดำเนินการมีประสบการณ์มีความรู้จัดทำเป็นชุดความรู้มีหลักสูตรสำหรับการถ่ายทอดความรู้จัดเป็นแหล่งเรียนรู้หรือศูนย์เรียนรูเพื่อการขยายผลในฐานะหมู่บ้านต้นแบบต่อไป ซึ่งผลการจัดโครงการต่างๆ นอกจากจะจัดขึ้นเพื่อป้องกันแก้ปัญหาอนุรักษ์เพิ่มมูลค่าให้กับชุมชนแล้วยังสามารถสร้างภาวะผู้นำทักษะการจัดการสร้างและพัฒนากลุ่มต่างๆ ในชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นหมู่บ้านและชุมชนสามารถบริหารจัดการตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นหมู่บ้าน“อยู่เย็น เป็นสุข”ตามยุทธศาสตร์ของกรมการพัฒนาชุมชน ซึ่งยึดหลักตามแนวทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และเมื่อหมู่บ้านดำเนินการตามแนวทางนี้แล้ว ก็จะเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนมีคุณลักษณะ 3 ไม่ 2 มี กล่าวคือ 1) ไม่มียาเสพติด 2) ไม่มีคนยากจน 3) ไม่มีหนี้นอกระบบส่วน 2 มี คือ 1) มีสวัสดิการชุมชน และ 2) มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น มีการจัดระเบียบชุมชน (ป้ายหมู่บ้าน/ป้ายคุ้ม/ป้ายสถานที่ กลุ่ม/องค์กร/ป้ายครัวเรือนพัฒนา/ปรับภูมิทัศน์หมู่บ้าน ครัวเรือนให้น่าอยู่ ฯลฯ) มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2559). แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.
โกวิทย์ พวงงาม. (2545). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. ม.ป.พ..
จรูญรัตน์ หิรัญชุฬหะ. (2542). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในโครงการวนศาสตร์ชุมชนที่สูงในลุ่มน้ำห้วยองเผาะ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จีรพรรณ กาญจนะจิตรา. (2538). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ฝ่ายตําราและอุปกรณ์การศึกษามหาวิทยาลัยรามคําแหง.
จุมพล หนิมพานิช. (2547). การวิเคราะห์นโยบาย: ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎีและกรณีตัวอย่าง.นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2528). การศึกษากับการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศน์กรมการฝึกหัดครู.
ณิชา เกษจำรัส. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลท่าแลง จังหวัด
เพชรบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
บัณฑร อ่อนดำ. (2541). รูปแบบการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันยาเสพติดให้โทษ.
ปนัดดา สุขเกษม. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มอาชีพ : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2534). การพัฒนาชุมชนจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด
สุเมธ ทรายแก้ว.(2536). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ: ศึกษาเฉพาะกรณีโครงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหา บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.