ชุดความรู้เกี่ยวกับอดีตทางวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
ความรู้, ประวัติศาสตร์, ศรีสะเกษ, พิพิธภัณฑ์, พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาชุดความรู้เกี่ยวกับอดีตทางวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์จังหวัดศรีสะเกษผ่านกรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ในจังหวัดศรีสะเกษจำนวน 5 แห่ง คือ 1) พิพิธภัณฑ์วัดบ้านสร้างเรือง 2) พิพิธภัณฑ์หอจดหมายเหตุและห้องสมุดจังหวัดศรีสะเกษ 3) พิพิธภัณฑ์ชนเผ่าศรีสะเกษ (เกาะกลางน้ำ) 4) พิพิธภัณฑ์บ้านขุนอำไพพาณิชย์ และ 5) พิพิธภัณฑ์วัดสระกำแพงใหญ่ โดยได้จากการศึกษาเอกสาร การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกผลการศึกษาพบว่าชุดความรู้เกี่ยวกับอดีตทางวัฒนธรรมในพิพิธภัณฑ์จังหวัดศรีสะเกษมี 2 ประการ คือ 1) ศรีสะเกษในบริบทความเป็นไทยภายใต้ชุดความรู้ทางวิชาการประวัติศาสตร์และโบราณคดี และ 2) ท้องถิ่นศรีสะเกษในอดีตผ่านวิถีชีวิตชนชั้นนำหรือสามัญชนโดยเฉพาะวิถีชนบท อันมีทั้งแบบวิถีชีวิตทั่วไปกับเน้นเฉพาะส่วนที่ขายได้โดยใช้วิธีการนำชุดความรู้พื้นบ้านมาใช้ตามที่คนในชุมชนรับรู้หรือผ่านการปรับให้เป็นข้อมูลทางวิชาการ
References
กรมศิลปากร. (2517). ประวัติศาสตร์กับงานพิพิธภัณฑ์. กรุงเทพฯ: กรมฯ.
ชาตรี ประกิตนนทการ. (2547). คณะราษฎร์ฉลองรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: มติชน.
ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี. (2550). วาทกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในสังคมไทย : ศึกษากรณีพิพิธภัณฑ์ในภาคอีสาน. วิทยานิพนธ์มานุษยวิทยามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนานนท์ ลาโพธิ์. (2555). พิพิธภัณฑ์ชนเผ่าจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2553). วันวาร กาลเวลา แลนานาศักราช. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
วุฒิชัย นาคเขียว และศิริวุฒิ วรรณทอง. (2562). วัดพระธาตุเรืองรองกับการเผยแพร่แนวคิดชาตินิยมในอีสานใต้ พ.ศ.2510 จนถึงปัจจุบัน.สุรินทร์: การประชุมวิชาการระดับชาติ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ วันที่ 22-23
สิงหาคม 2562.
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ. (2561). พิพิธภัณฑ์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ:
สถาบันฯ.
สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. (2548). ประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันเป็นเอกลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษ: สำนักงาน
วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ.
สุมิตรา กอบกิจสุขสกุล. (2531). การประกวดนางสาวไทย (พ.ศ.2477 – 2530). วิทยานิพนธ์ศิลปศา
สตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
หอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ. (2562). เอกสารแนะนำจังหวัดขุขันธ์. ศรีสะเกษ: หอการค้าฯ.
อภินันท์ สงเคราะห์. (2550). โครงการอบรมเรื่องการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. อุบลราชธานี: โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
อรทัย อัยยาพงษ์. (2554). การศึกษารูปแบบการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พระธาตุเรืองรอง ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปะศาสตรบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.