การพัฒนานวัตวิถีชุมชนกับแผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับที่ 12

ผู้แต่ง

  • ภาศิณี โกมลมิศร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ปัณณวิชญ์ แสงหล้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูปริยัติกิตติวงศ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระสามารถ จตฺตมโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระยุทธนา มาลาวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชัญญ์ชญา ธรรมาเวทย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, นวัตวิถีชุมชน, แผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับที่ 12

บทคัดย่อ

การพัฒนานวัตวิถีต้องมีการจัดการองค์ความรู้เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 โดยยึดหลัก 6 ประการ คือ ความรู้ที่จำเป็น การพัฒนาองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการ การปรับปรุงและสร้างองค์ความรู้ที่เหมาะสม การประยุกต์ใช้องค์ความรู้การพัฒนานวัตวิถีสู่การปฏิบัติให้เกิดนวัตกรรม การปรับปรุงพัฒนาและต่อยอดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลการพัฒนาของชุมชนไปสู่ภายนอกด้วยแนวคิด 3 ประการ ที่เป็นรากเหง้าทางเศรษฐกิจทั้งอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และทรัพยากรธรรมชาติผสมผสานเทคโนโลยี นำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นและสร้างคุณค่าโดยเฉพาะเรื่องความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน การพัฒนานวัตวิถีตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมกับชุมชนนั้นมีแนวทาง 7 ประการ คือ 1) นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำมาเป็นยุทธศาสตร์ระยะยาว 2) การสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 3) การสร้างความสามารถในการแข่งขัน 4) การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ 5) การสร้างโอกาสและความเสมอภาค 6) การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นกับสิ่งแวดล้อม 7) การปรับสมดุลและการบริหารจัดการ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

References

เอกสารอ้างอิง
กองแผน กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
กรุงเทพธุรกิจ. (2561). บทความเรื่องแม่กำปองร้องทุกข์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ.
________. (2562). บทความเรื่องระเบิดจากข้างในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ.
พจนานุกรม. (2538). ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2538). ทางสายกลางของการศึกษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปกรณ์ ปรียากร. (2538). ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา ใน การบริหารการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิช.
สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ธีระพงษ์ โสดาศรี (2561). OTOP นวัตวิถี. แหล่งที่มา: https://www.thailandplue.tv. (5 มกราคม 2563)
ปัทมา เธียรวิศิษฎ์สกุล. อนาคตประเทศไทยกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. แหล่งที่มา: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/08c2/T_00p01.PDF. (10 มกราคม 2563)
ศศิชา หมดมลทิล. หน่วยวิเคราะห์เศรษฐกิจฐานราก ส่วนเศรษฐกิจฐานราก. แหล่งที่มา: https://www.gsbresearch.or.th/wpcontent/uploads/2019/10/GR_report_travel_detail.pdf. (10 มกราคม 2563).
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก. การท่องเที่ยวชุมชน. แหล่งที่มา: https://www.bangnomko.go.th/. (15 ธันวาคม 2562).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04