วิเคราะห์ ศรัทธาในระบบความเชื่อจากคำสอนของพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
ศรัทธา, คำสอน, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
ศรัทธามีความสำคัญต่อศาสนาเป็นอย่างมาก เพราะโดยภาพรวมแล้วศาสนาทุกศาสนาสอนบุคคลให้ละความชั่วและประพฤติความดี โดยวิธีการสอนนั้นศาสนิกชนของศาสนานั้นๆ ต้องมีความเชื่อเป็นพื้นฐาน หลังจากมีศรัทธาแล้วบุคคลจะให้ความสนใจและประพฤติตามกฎเกณฑ์และหลักธรรมของศาสนานั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ อันก่อให้เกิดเป็นประสิทธิผลทั้งแก่ตนเองและส่วนรวม พระพุทธศาสนา หลักคำสอนเรื่องศรัทธาจัดเป็นหลักคำสอนที่สำคัญเช่นเดียวกับศาสนาอื่นๆ ศรัทธามีความสำคัญในฐานะเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการนำบุคคลเข้าสู่การศึกษาและปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา ถ้าปราศจากศรัทธา การศึกษาหรือการยอมรับคำสอนและการปฏิบัติตามคำสอนก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ แต่ศรัทธาตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ศาสดาได้ประกาศไว้โดยปราศจากการบังคับให้เชื่อแบบขาดเหตุผล
References
กองวิชาการมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2515). มิลินทปัญหา. โปรดเกล้าพระราชทานจัดพิมพ์ เนื่องในงานพระศพ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย,
พระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2522). พระพุทธศาสนาปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระราชสุมนมุนี (แบน กิตฺติสาโร). (2525). ธรรมาวลี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กิตติวรรณ, มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุนทร ณ รังสี. (2530). ปรัชญาอินเดีย: ประวัติและลัทธิ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_________. (2535). พุทธปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2529). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. รวบรวมโดย สุเชาวน์ พลอยชุม. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรม ราชูปถัมภ์.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2530). พระไตรปิฎกสำหรับประชาชน. กรุงเทพ: มหามกุฎราชวิทยาลัยในพระ
บรมราชูปถัมภ์.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2529). สารานุกรมพระพุทธศาสนา.