รัฐประศาสนศาสตร์ในบริบทของความเปลี่ยนแปลง: จากคำประกาศแห่งเมืองแบล็คเบิร์กสู่การบริการสาธารณะแนวใหม่
คำสำคัญ:
รัฐประศาสนศาสตร์, คำประกาศแห่งเมืองแบล็คเบิร์ก, การบริการสาธารณะแนวใหม่บทคัดย่อ
รัฐประศาสนศาสตร์จัดเป็นวิชาว่าด้วยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานภาครัฐ ซึ่งในห้วงเวลาที่ผ่านมานั้นได้มีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอย่างมาก ซึ่งบริบทของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นสามารถที่จะสะท้อนให้เห็นภาพได้นับตั้งแต่คำประกาศแห่งเมืองแบล็กส์เบอร์ก (Blacksburg Manifesto) ซึ่งถือได้ว่าจุดเริ่มต้นของการเรียกร้องให้มีการทบทวนค่านิยมและบทบาทของนักบริหารภาครัฐใหม่โดยการหันมาพิจารณาบทบาทของการบริหารงานภาครัฐภายใต้บริบทของการเมืองตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่คำนึงถึงคนที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนพลเมืองในรูปแบบของพลเมืองตื่นรู้มากขึ้นมาสู่การบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service: NPS) อันเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการบริการเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest)
References
นราธิป ศรีราม. กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย และชลัช ชรัญญ์ชัย. (2556). รายงานการวิจัยเรื่องการ สังเคราะห์แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปกรณ์ ศิริประกอบ. (2560). 3 พาราไดม์ทางรัฐประศาสนศาสตร์: แนวคิด ทฤษฎี และการนำไปปฏิบัติจริง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2560). การบริหารงานภาครัฐกับมิติของความเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานของหน่วยงานภาครัฐสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง. รัฐสภาสาร.ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560, 65(5): 9-34.
อัมพร ธำรงลักษณ์. (2556). การบริหารปกครองสาธารณะ: การบริหารรัฐกิจในศตวรรษที่ 21.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Wamsley and others. (1989). Refounding Public Administration. CA: Sage publications, Inc, pp.246-273.
Denhardt and Denhardt. (2000). The New Public Service: serving rather than steering.
Public Administration Review, 60 (6): pp. 549-557.
Frederickson, George. (2004). Toward a New Public Administration in Shafritz, Jay
M &Hyde, Albert C. (2004). Classics of Public Administration. Wadswort:
Cengage Learning, pp.315-326.