การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงแนวปฏิบัติระหว่างหลักสัปปุริสธรรม กับเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่

ผู้แต่ง

  • พระมหาโชตนิพิฐพนธ์ สุทฺธจิตฺโต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • สุรศักดิ์ ชะมารัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • วันชัย สุขตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • พระครูปัญญาสุธรรมนิเทศ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • เรียงดาว ทวะชาลี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

หลักสัปปุริสธรรม, เทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการวิเคราะห์ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงแนวปฏิบัติระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ เพื่อเป็นการขยายกรอบความคิดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงแนวปฏิบัติระหว่างหลักสัปปุริสธรรมกับเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ต่างๆ ให้กว้างมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จากการวิเคราะห์พบว่า 1) อัตตัญญุตาเป็นเรื่องของการพัฒนาภาวะผู้นำและบุคลิกภาพ (Leadership and Personality Development) 2) ปริสัญญุตาเป็นเรื่องของการบริหารเครือข่าย (Network Management) 3) ปุคคลัญญุตาหรือปุคคลปโรปรัญญุตาเป็นเรื่องของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) 4) ธัมมัญญุตาเป็นเรื่องของการวิเคราะห์สวอท (SWOT Analysis) และการวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 5) อัตถัญญุตาเป็นเรื่องของการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management: RBM) 6) มัตตัญญุตาเป็นเรื่องของการบริหารงบประมาณ (Budget Management) และ 7) กาลัญญุตาเป็นเรื่องของการบริหารเวลา (Time Management)

References

เอกสารอ้างอิง
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2557). งบประมาณแบบมีส่วนร่วม: บทเรียนจากต่างประเทศและความท้าทายสำหรับประเทศไทย. วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. 20 (1), 9
นันธิดา จันทร์ศิริ. (2557). การจัดการเครือข่ายในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. สารอาศรม
วัฒนธรรมวลัยลักษณ์. 15 (1),145-153.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2553). วิธีการบูรณาการพระพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต).
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2557). พระพุทธศาสนากับวิทยาการสมัยใหม่: ตัวแบบวิธีวิทยาว่าด้วยพุทธบูรณาการและพุทธสหวิทยาการ. ออนไลน์. แหล่งที่มา: http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=1733&articlegroup_id=278./ สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2561.
พิธุวรรณ กิติคุณ. (2559). การพัฒนาระบบราชการโดยการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management: RBM). กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
มานิต ศุทธสกุล. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 1 หน้า 1-46. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: โรงพิมพ์1มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ยุวดี ศิริยทรัพย์. (2560). การวางแผนทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ลักษณา ศิริวรรณ. (2558). การบริหารเครือข่าย ในประสบการณ์วิชาชีพบริหารรัฐกิจ หน่วยที่ 12หน้า 1-47. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรนุช สุนทรวินิต. (2555). การจัดการทรัพยากรการเงินในองค์การสารสนเทศ ในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการองค์การสารสนเทศ หน่วยที่ 17 หน้า 1-53. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิริรัตน์ ชุณหคล้าย. (2558). การบริหารจัดการองค์การตามทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.สถาบันดำรงราชานุภาพ
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2553). การบริหารเวลา (Time Management). กรุงเทพฯ:สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2560). กลยุทธ์ในการคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการไดม้าซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งงาน. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4 (3), 71-78.
อัญญา ศรีสมพร. (2551). การใช้ภาวะผู้นำแนวพุทธของหัวหน้าภาควิชา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อารมณ์ จินดาพันธ์. (2556). การบริหารงาน – บริหารเวลา. วารสารบัณฑิตศึกษา. 10 (48), 195-198.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04