แนวคิดในการพัฒนาประเทศไทย
คำสำคัญ:
แนวคิด, การพัฒนาประเทศไทยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์พยายามที่จะพิจารณาวิเคราะห์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิดในการพัฒนาประเทศไทย รวมถึงนโยบายต่างๆที่นำมาพัฒนาประเทศไทย ถ้ากล่าวกว้างๆการพัฒนาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เพราะสังคมมนุษยชาติมีการพัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด แต่จุดเริ่มต้นของแนวคิดการพัฒนาอย่างจริงจังเริ่มขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ริเริ่มสร้างแนวคิดในการพัฒนาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือสหรัฐอเมริกา เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเดียวที่ไม่ประสบหายนะจากสงครามและมีความมั่งคั่งจากสำหรับประเทศไทยเราเลือกที่จะเดินตามแนวทางการพัฒนาของสหรัฐอเมริกา โดยสิ่งที่สหรัฐใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้ประเทศไทยรับแนวคิดการพัฒนาจากสหรัฐ รวมทั้งประเทศอื่นๆที่เลือกเดินตามแนวทางโลกตะวันตก ในประเทศไทยโดยเริ่มนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทย (ทวีศักดิ์ ตั้งปฐมวงศ์, 2475)มาจนถึงปัจจุบัน การบริหารการพัฒนาไม่ค่อยประสบความสำเร็จเพราะมักจะเกิดความขัดแย้งและความไม่สมดุลระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายบริหาร กล่าวคือในบางยุคการบริหารจะครอบงำการเมือง ดังนั้นจึงต้องมีแนวคิดและทฤษฎีต่างๆที่เหมาะสมกับประเทศไทยเพื่อนำมาเป็นแนวทางหรือทางออกที่จะแก้ปัญหาในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป
References
ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2519). พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.
วิทยากร เชียงกูล. (2540). ปฏิรูปการเมือง. กรุงเทพฯ: มิ่งมิตร.
เกษียร เตชะพีระ. (2539, 22 กรกฎาคม). ผู้จัดการรายวัน “รามบุตรี 516” ผู้จัดการรายวัน.
________. (2540, 20 มีนาคม). ในคอลัมน์ การเมืองวัฒนธรรม 2540 เรื่อง “ลวดโลกาภิวัตน์รัดคอ”. มติชน, น. 13
สุขุม นวลสกุล. (2516). ทฤษฎีการเมืองสมัยโบราณและสมัยกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
Henry Grason. (1956). The Crisis of the Middle Class. New York: Rinehart & Company, Inc.