การประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอีสาน
คำสำคัญ:
ทุนวัฒนธรรม, พัฒนาชุมชน, อีสานบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอทุนทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอีสาน ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของความเป็นชาติและลักษณะทางสังคม วิถีชีวิต ทางโลกทัศน์และการปรับตัวกับระบบนิเวศทางสังคมกับสภาพแวดล้อมโดยนำเสนอวิถีชีวิตของชุมชน ผสมผสานมิติของสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ สิ่งแวดล้อม อาหารพื้นถิ่นของชุมชนอีสาน เพื่อให้เข้าใจศักยภาพองค์ความรู้ ที่จะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอีสาน ผ่านการพัฒนาแบบองค์ความรู้ มีระบบวิธีคิดใหม่ที่เชื่อมโยงแบบบูรณาการ เพื่อนำไปสู่การยกระดับสู่การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณค่าต่อชุมชน
References
ชลิต ชัยครรชิต. (2557). พลังวัฒนธรรม ในศิลปะอีสาน. โสวัฒนธรรมอีสานในงานวิจัย. เชียงใหม่ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิตยา บุญสิงห์. (2556). วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: พัฒนศึกษา.
นิสวันต์ พิชญ์ดำรง. (2553). ทุนทางวัฒนธรรมขุมทรัพย์ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 47 (4): 9-13
บุญเกิด พิมพวรเมธากุล และ นภาพร พิมพวรเมธากุล. (2556). ฮีด-คอง-คะลำ. ขอนแกน: คลังนานาวิทยา.
ประชิด สกุณะพัฒน์. (2546). วัฒนธรรมพื้นบ้านประเพณีไทย. กรุงเทพฯ: ภูมิปัญญา.
ลักขณา ศกุนะสิงห์. (2556). ความเชื่อและประเพณี เกิด แต่งงาน ตาย. กรุงเทพฯ: พราวเพรส.
รัตนา จันทร์เทาว์ และ เชิดชัย อุดมพันธ์. (2560). ชื่ออาหารท้องถิ่นอีสานและภาคใต้ : มุมมองด้านอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 9 (1): 63-89.
สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2544). โครงสร้างและพลวัตวัฒนธรรมภาคใต้กับการพัฒนา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อมรา กล่ำเจริญ. (2553). เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.