ความเชื่อเรื่องน้ำพุทธมนต์สำหรับพุทธศาสนิกชน

ผู้แต่ง

  • สุชาติ บุษย์ชญานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความเชื่อ, น้ำพุทธมนต์, พุทธศาสนิกชน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งนำเสนอ 3 ประเด็น คือ (1) คติความเชื่อเรื่องน้ำพุทธมนต์ในพระพุทธศาสนา (2) กระบวนการทำการทำน้ำพระพุทธมนต์ (3) คติความเชื่อพลังอานุภาพในพระรัตนตรัยสำหรับพุทธศาสนิกชน (4) คติความเชื่อพลังอานุภาพในพระรัตนตรัยสำหรับพุทธศาสนิกชน และ (5) ข้อพิสูจน์น้ำพุทธมนต์ทางวิทยาศาสตร์ จากผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า น้ำพุทธมนต์  คือ น้ำที่ผ่านพิธีปลุกเสก น้ำพุทธมนต์สามารถนำมาใช้ในงานประกอบพิธีมงคลต่าง ๆ หรือผ่านการปลุกเสก (สวด) ของพระภิกษุหรือคฤหัสถ์ผู้มีวิชาอาคม โดยมีมาจากความเชื่อในสมัยพุทธกาลได้มีเหตุการณ์เกิดทุพภิกขภัยในกลุ่มเจ้าลิจฉวี ที่เมืองเวสาลี การประกอบพิธีน้ำพุทธมนต์นั้นต้องเตรียมสถานที่ น้ำพุทธมนต์ ภาชนะขันใส่น้ำพุทธมนต์ ด้ายสายสิญจน์ อาสนะสำหรับพระสงฆ์ที่มาเจริญพุทธมนต์  เทียนไข และหญ้าคาหรือไม้มะยม ในการใช้ประพรมน้ำมนต์ ชาวพุทธมีคติความเชื่อในพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึงของชาวพุทธและมีอานุภาพมากทั้งอานุภาพพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ  ดังนั้น ชาวพุทธจึงเชื่อว่าพระรัตนตรัยนั้นเป็นสิ่งที่เป็นมงคลสูงสุดจะประกอบพิธีน้ำพุทธมนต์ก็ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยทั้ง 3 ประการ นั่นเอง

References

เอกสารอ้างอิง
กรมการศาสนา. (2533). ศาสนพิธี ฉบับกรมการศาสนา (แก้ไขปรับปรุง) พ.ศ.2533. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553). คู่มือนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี วิชาพุทธประวัติและศาสนพิธี. กรุงเทพฯ: ไทยรายวันการพิมพ์.
พระครูอรุณธรรมรังสี (เอียม สิริวณฺโณ). (2532). มนต์พิธีแปล, กรุงเทพฯ: อักษรสมัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2551). พิธีกรรมใครว่าไม่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 6 . กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
¬¬¬__________. (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระสุทธิธรรมสังสีคัมภีรเมธาจารย์ ( ลี ธมฺมธโร). (2546). ทิพย์มนต์อานาปานสติภาวนามยสติปัฏฐาน. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วชิรญาณวโรรส สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา. (2556). ธมฺมปทฎฺฐกถา สตฺตโม ภาโค. พิมพ์ครั้งที่ 25. นครปฐม: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมชัย เกื้อกูล. (2555). ศาสนพิธีจากประสบการณ์. นนทบุรี: เจริญผลกราฟฟิค.
สุกัญญา คมสัน. (2553). ทิพยมนต์กับการบำบัดโรค. วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก, 3 (2), 41 - 47.
Masaru Emoto. (2116). The Message from Water Available . ออนไลน์.แหล่งที่มา: http://www.masaru-emoto.net.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04