เปรตกับความสัมพันธ์กับประเพณีแซนโฎนตาของชาวไทยเขมร

ผู้แต่ง

  • ยโสธารา ศิริภาประภากร สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าโยธาประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์
  • พระสำเริง อินทยุง สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าโยธาประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์
  • สุริยา คลังฤทธิ์ สำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าโยธาประสิทธิ์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

เปรต, ประเพณี, แซนโฎนตา, ชาวไทยเขมร.

บทคัดย่อ

ฐานคติความเชื่อของชาวไทยเขมร ได้มีความเชื่อว่า  เปรตเป็นลักษณะวิญญาณที่หิวโหย อดอยากเป็นผู้ที่อยู่อาศัยอีกภพภูมิหนึ่ง  มีความสัมพันธ์กับประเพณีแซนโฎนตาของชาวไทยเขมร  ประเพณีแซนโฎนตาเป็นพิธีกรรมการอุทิศบุญกุศล ผู้ที่ล่วงลับ มีความสัมพันธ์เป็นคติธรรมความเชื่อที่เชื่อมโยงกับหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา เป็นการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ ชาวไทยเขมรมีความเชื่อว่าเป็นการสงเคราะห์อนุเคราะห์แก่ญาติผู้วายชนม์ให้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์  และเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ ความเชื่อเรื่องกรรมที่ทำให้เกิดเป็นเปรต มีความสอดคล้องกันกับความเชื่อของพระพุทธศาสนา มีการปฏิบัติที่สืบทอดกันมา จึงก่อเกิดประเพณีและพิธีกรรมแซนโฎนตา ซึ่งได้รับอิทธิพลจากความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของจิตวิญญาณว่า หลังจากที่ตายไปแล้ว เชื่อว่าผู้ทำกรรมใดไว้ย่อมได้รับผลกรรมนั้น ทำดีได้ขึ้นสวรรค์ ทำชั่วตกนรก เป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะผลแห่งบาปกรรมที่ทำไว้นั่นเอง และในภูมิแห่งเปรตพวกเขาสามารถดำรงชีพอยู่ด้วยการอาศัยส่วนบุญ  จากการอุปการะของญาติพี่น้อง หรือผู้อื่นเท่านั้นหากไม่มีใครอุทิศไปให้ก็ไม่ได้รับบุญลักษณะการรับส่วนบุญ สอดคล้องกับความเชื่อเรื่องการรับส่วนบุญเพราะชาวไทยเขมรมีความเชื่อว่าการเวียนว่ายตายเกิดนั้นมีจริง และเชื่อว่าการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติในวัน “แซนโฎนตา” ผู้ที่ตายที่เป็นญาติพี่น้อง จะได้รับส่วนบุญแน่นอน และเชื่อว่าผลบุญเหล่านั้น จะช่วยให้ผู้ตายได้พ้นจากหนี้กรรมที่มีอยู่ และจะได้ไปเกิดใหม่ในภพใหม่ต่อไปแน่นอนในวัน “แซนโฎนตา”ชาวบ้านมีความเชื่อถือว่าผีบรรพบุรุษของทุกตระกูลก็จะไปรวมกันที่วัด เพื่อรอรับส่วนกุศลที่ญาติส่งให้ เพื่อจะเป็นผลบุญที่ตนได้นำไปสู่ความสุขในภพหน้าต่อไป ดังนั้นเปรตกับประเพณีแซนโฎนตาของชาวไทยเขมรได้มีความเกี่ยวข้องกัน คำว่าเปรตในทางพระพุทธศาสนาคือดวงวิญญาณที่สามารถรับส่วนบุญได้ และบรรพบุรุษของชาวไทยเขมรก็มีความเชื่อว่ามารับบุญกุศลจากการอุทิศของลูกหลานได้ในพิธีแซนโฎนตาแต่ละปีที่จัด

References

เอกสารอ้างอิง
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_________. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
กรมศิลปากร. (2528). โลกบัญญัติ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย (น.ส.พ. ฟ้า
เมืองไทย)
กิตฺติวุฑโฒ ภิกขุ. (มปป.). ของดีจากเปรต. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย.
กิ่งแก้ว อัตถากร. (2519). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์กรมการฝึกหัดครู
คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา.
พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2524). ขนบธรรมเนียมประเพณีของอีสาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ชำนาญ รอดเหตุภัย. คติความเชื่อ-ประเพณีในคติชนวิทยา. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์
กรมการฝึกหัดครู.
ปัญญา ใช้บางยาง. หลักธรรมในพระไตรปิฎก. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
ปรีชา นันตาภิวัฒน์ น.อ.(พิเศษ). ( 2544). พจนานุกรมหลักธรรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดวงแก้ว.
ผอบ โปษกฤษณะ. (2524). ความเชื่อของชาวบ้านเป็นความงมงายหรือ. กรุงเทพฯ: วารสารไทย.
พญาลิไทย. (2545). ไตรภูมิพระร่วง. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
________. (2543). ความสุขของครอบครัวคือสันติสุขของสังคม. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
ฟื้น ดอกบัว. (2543). สังสารวัฏกับการเวียนว่ายตายเกิดในพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บูรพาสาสน์จำกัด.
มูลนิธิธรรมกาย. (1977). เปรตผู้ทนทรมานจากผลของบาป. ปทุมธานี: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
เสฐียร พันธรังสี. (2521). ศาสนาโบราณ. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองธรรม.
เสถียร โกเศศ. (1997). ผีสางเทวดา. กรุงเทพฯ: เอเธนส์บุ๊คส์.
แสง จันทร์งาม. (2512). พุทธศาสนาวิทยา. กรุงเทพฯ: เจริญรัตน์การพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-04