ความเชื่อและทัศนคติด้านการถวายอาหารแด่พระสงฆ์ของคน เจนเนอร์เรชั่น ‘Z’ : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • เตชภณ ทองเติม มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
  • จีรนันท์ แก้วมา มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา

คำสำคัญ:

การถวายอาหาร, พระสงฆ์, นักศึกษา, จังหวัดศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเชื่อและทัศนคติด้านการถวายอาหารแด่พระสงฆ์ของคนเจอเนอร์เรชั่น Z ตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 400 คน อายุเฉลี่ย 19.60 ± 0.94 ปี ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า

  1. นักศึกษามีความเชื่อด้านการถวายอาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ ดังนี้ 1) การถวายอาหารในประเภทอาหารที่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว (ตาย) ชอบรับประทาน ญาติที่ล่วงลับไปแล้วจะได้รับอาหารประเภทนั้นๆ ที่นำไปถวายในอีกภพภูมิด้วยเช่นกัน ร้อยละ 94.8 2) การถวายอาหารจะทำให้ตนเองได้รับผลบุญในชาตินี้ ร้อยละ 93.8 และ 3) การถวายอาหารจะทำให้ตนเองได้รับผลบุญในชาติหน้า ร้อยละ 93.0
  2. นักศึกษามีทัศนคติด้านการถวายอาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ ดังนี้ การหาความรู้เกี่ยวกับอาหาร/โภชนาการและสุขภาพเป็นเรื่องจำเป็น ร้อยละ 97.3 อาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง ร้อยละ 95.8 และ การเลือกซื้ออาหารควรพิจารณาคุณค่าทางโภชนาการมากกว่ารสชาติและความถูกใจ ร้อยละ 94.1

References

เอกสารอ้างอิง
Cronbach L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5thed. New York: Harper
Collins publishers.
Yamane, T. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and
Row Publications.
จงจิตร อังคทะวานิช และคณะ. (2559). สถานการณ์ปัญหาโภชนาการในพระสงฆ์ จากโครงการ
สงฆ์ไทยไกลโรค. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
เตชภณ ทองเติม และ จีรนันท์ แก้วมา. (2562ก). ความรู้ด้านการบริโภคอาหารของพระภิกษุสูงวัยใน
จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(3), 58–74.
เตชภณ ทองเติม และ จีรนันท์ แก้วมา. (2562ข). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของ
พระภิกษุสูงวัยในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5017–5032.
นัยนา ยอดระบำ มณฑา เก่งการพานิช นิรัตน์ อิมามี และ ธราดล เก่งการพานิช. (2556). การวิจัย
เชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการถวายอาหารสุขภาพแด่พระสงฆ์ ของประชาชนอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วารสารสุขศึกษา, 36(1), 51-64.
พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต ธวัลรัตน์ แดงหาญ และสรัญญา วภัชชวิธี.
(2558). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดขอนแก่น โดยเน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่าย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 22(2), 117-129.
รัชนีกร ตาเสน และทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์. (2562). ความเชื่อและพฤติกรรมการทำบุญใส่บาตรและ
ถวายภัตตาหารของชาวพุทธที่เอื้อต่อสุขภาพของพระสงฆ์: กรณีศึกษาในจังหวัดน่าน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(4), 80-87.
วัชรินทร์ ออละออ. (2557). สุขภาพพระสงฆ์ในบริบทชุมชนอุตสาหกรรม. วารสารวิจัยสังคม, 37(2),
89-124.
ศนิกานต์ ศรีมณี ชนิดา มัททวางกูร พรพิมล ภูมิฤทธิกุล กุลธิกา จันทร์เจริญ เนตร หงส์ไกรเลิศ และ
นารี รมย์นุกูล. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของพระสงฆ์และพฤติกรรม การถวายภัตตาหารของประชาชน ในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
ศนิกานต์ ศรีมณี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคของพระสงฆ์ และ
พฤติกรรมการถวายภัตตาหารของประชาชนในเขตภาษีเจริญ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 19(37), 37-45.
ศรีเมือง พลังฤทธิ์. (2562). สถานะสุขภาพและแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์
อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 133-142.
ศศวรรณ อัตถวรคุณ นิตยา งามดี และวิเชษฐ์ เชิดสันเทียะ. (2562). สุขภาพพระสงฆ์ในเขตเมือง:
ปัญหาที่ควรได้รับการดูแล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 63(Suppl),
177-184.
สมเกียรติ รามัญวงศ์ วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง และสมบูรณ์ สุขสำราญ. (2561). การส่งเสริมการดูแล
สุขภาพแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในจังหวัดลพบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(25), 94-107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24