ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์, พุทธศาสนาเถรวาทและมหายานบทคัดย่อ
ประวัติพระพุทธศาสนามีความเป็นมายาวนานกว่าสองพันปีมาแล้ว ผ่านมาหลายยุคหลายสมัย หลังจากที่ผ่านกาลเวลามาเป็นระยะเวลาอันยาวนานและการเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ ทำให้เกิดนิกายที่มากมายที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพภูมิประเทศและท้องถิ่นนั้นๆ พระพุทธศาสนาได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขในบางส่วนเพื่อให้เข้ากับผู้ปฏิบัติได้ง่าย เหมาะกับรูปแบบหรือวิถีชีวิตดั้งเดิมของท้องถิ่นนั้นๆ เพราะเหตุนี้ จึงเกิดเป็นนิกายต่างๆ ขึ้นมามากมายถึง 18 นิกายใหญ่ แต่ที่เราเห็นกันในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 นิกายใหญ่ๆ คือ หินยาน (เถรวาท) และมหายาน โดยนิกายทั้งสองนี้ได้มีความแตกต่างกันหลายประการอันเนื่องมาจากการปรับหลักธรรมให้เข้ากับภูมิประเทศและวิถีชีวิตของประชาชน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าพุทธศาสนาจะมีหลายนิกายเพียงใด แต่ก็มาจากที่เดียวกันคือมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทำให้ข้อวัตรปฏิปัติหรือหลักธรรมบางอย่างมีความสัมพันธ์คล้ายคลึงกัน แต่คงจะทำให้ทั้งสองนิกายเหมือนกันทั้งหมดก็คงเป็นไปไม่ได้ ถึงอย่างไรก็ตาม ทั้งสองนิกายเน้นสอนให้ทุกคนเป็นคนดีและหลุดพ้นจากความทุกข์
References
บุญมี แท่นแก้ว. (2548). พระพุทธศาสนาในเอเชีย. กรุงเทฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ประทุม อังกูรโลหิต. (2553). พระมหาปณิธานของพระโพธิสัตว์-ข้อโต้แย้งทางปรัชญา. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาฯ.
ปุ้ย แสงฉาย. (ม.ป.ป.). พุทธปรัชญา. กรุงเทพฯ : ลูก ส.ธรรมภักดี.
พระเทพดิลก. (2548). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม. (2557). เอกสารประกอบการสอนวิชาเปรียบเทียบคำสอนพุทธศาสนาเถรวาทกับมหายาน. กรุงเทพฯ : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
พุทธทาสภิกขุ. (ม.ป.ป.). ฟ้าสางฯ 1. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
พุทธทาสภิกขุ. (ม.ป.ป.). ลัทธิความเป็นมาแห่งพระศาสนาหินยาน-มหายาน. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
สุวิญ รักสัตย์. (2555). พระพุทธศาสนามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บางกอกบล๊อก.
เสถียร พันธรังสี. (2554). พุทธประวัติมหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : ศยาม.